Page 54 - kpiebook65062
P. 54

รูปแบบประวัติศาสตร์นิยม (Historicism)



                            รูปแบบสถาปัตยกรรมแบบประวัติศาสตร์นิยม คือการอ้างอิงรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งจากอดีต
                      รื้อฟื้นกลับมาใช้ในบริบทที่ต่างสมัยกัน จึงเรียกอีกอย่างว่า รูปแบบรีไววัล (revival style) เช่น
                      รูปแบบกอธิครีไววัล (Gothic Revival) คือการเลือกใช้รูปแบบสถาปัตยกรรมกอธิค สมัยคริสต์ศตวรรษ

                      ที่ ๑๒ – ๑๔ มาใช้ใหม่ในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ หรือสถาปัตยกรรมนีโอคลาสสิค (Neoclassicism)
                      คือการใช้รูปแบบสถาปัตยกรรมคลาสสิคในประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมตะวันตก คือสถาปัตยกรรม

                      กรีก และสถาปัตยกรรมโรมัน มาใช้ใหม่ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ ๑๘ ต่อเนื่องถึงคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙
                      สถาปัตยกรรมแบบประวัติศาสตร์นิยมทรงอิทธิพลมากในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ ในสมัยที่
                      ระบบการก่อสร้างและเทคโนโลยีอาคารสมัยใหม่พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว การวางผังอาคารกลายเป็น

                      การจัดวางพื้นที่ รูปทรงและขนาดที่ว่าง (space) ที่เหมาะสม โดยเน้นความสมมาตรแบบมีแนวแกน
                      (axial symmetry) ลำดับชั้นของพื้นที่ว่าง (spatial hierarchy) และการใช้เส้นตาราง (grid)

                      เป็นเครื่องกำกับผังพื้นให้มีระบบระเบียบ เหมาะสมกับระบบโครงสร้าง  ทั้งหมดนี้เป็นคนละส่วนจาก
                      การออกแบบรูปร่างหน้าตาของอาคาร ซึ่งผู้ออกแบบสามารถเลือกใช้รูปแบบใดก็ได้จากรูปแบบ
                      สถาปัตยกรรมในประวัติศาสตร์ โดยคำนึงถึงความเหมาะสม ลักษณะสำคัญ (character) ของอาคาร

                      และการใช้สอยหรือการสื่อความหมายเชิงสัญลักษณ์ เช่น อาคารรัฐสภา (Parlamentsgebäude)
                      ที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ออกแบบโดยนายเธโอฟิล ฮันเซน (Theophil Hansen) สถาปนิก

                      ชาวเดนมาร์ก ใน พ.ศ. ๒๔๒๖ มีรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบกรีก รีไววัล (Greek Revival)
                      ด้วยผู้ออกแบบต้องการสื่อความหมายถึงการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งเชื่อกันว่ามีต้นกำเนิด
                      ที่กรุงเอเธนส์  ส่วนอาคารรัฐสภา (Westminster Palace) ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เซอร์ชาลส์

                      บาร์รี (Sir Charles Barry) สถาปนิก ออกแบบอาคาร ใน พ.ศ. ๒๓๘๓ โดยใช้รูปแบบสถาปัตยกรรม
                      กอธิค รีไววัล (Gothic Revival) เพื่ออ้างอิงถึงประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมของรูปแบบ

                      เพอร์เพนดิคูลาร์ กอธิค (Perpendicular Gothic) ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมของอังกฤษ
                      แท้ ๆ มิใช่สถาปัตยกรรมแบบคลาสสิค ซึ่งถือกำเนิดขึ้นในอาณาจักรกรีกและจักรวรรดิโรมัน


                            กล่าวอีกนัยหนึ่ง สถาปัตยกรรมแบบประวัติศาสตร์นิยมทำให้การออกแบบผังพื้นอาคารกับ
                      การออกแบบรูปร่างหน้าตาอาคารแยกออกจากกัน  ผังพื้นผังเดียวอาจมีรูปลักษณ์หน้าตาได้หลาย
                      รูปแบบ ตามแต่จินตนาการและการอ้างอิงรูปแบบในอดีตของสถาปนิก ศูนย์กลางของการศึกษา

                      วิชาสถาปัตยกรรมแบบประวัติศาสตร์นิยมในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ คือโรงเรียนศิลปากร
                      (École des Beaux-Art) ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งก่อตั้งขึ้นในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ ๑๗

                      แต่มาทรงอิทธิพลต่อการออกแบบสถาปัตยกรรมในทวีปยุโรปในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ มุ่งให้นักเรียน
   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59