Page 15 - kpiebook65055
P. 15

15






                  รัฐต้องมีหน้าที่ในการคุ้มครองสิทธิในมาตรฐานการครองชีพที่เพียงพอดังกล่าวของประชาชนไม่ให้ถูก
                  ละเมิดด้วย




                          1.3.4 สิทธิเด็ก



                          ข้อ 6 แห่ง อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ระบุให้รัฐภาคียอมรับว่าเด็กทุกคนมีสิทธิที่จะมีชีวิต
                  มาแต่ก�าเนิด โดยในข้อ 6 (2) ก�าหนดให้รัฐต้องประกันสิทธิในการอยู่รอดและการพัฒนาของเด็กอย่างเต็มที่
                  เท่าที่จะท�าได้ (mamimum extent possible) นอกจากนั้น เด็กมีสิทธิที่จะได้รับมาตรฐานสาธารณสุขที่สูงที่สุด

                  เท่าที่จะหาได้ โดยรัฐต้องด�าเนินมาตรการที่เหมาะสมโดยให้ค�านึงถึงอันตรายและความเสี่ยงของภาวะมลพิษ

                  ทางสิ่งแวดล้อมตามความในข้อ 24 (2) (c) ความในข้อนี้สอดคล้องกับหน้าที่ของรัฐที่ก�าหนดอยู่ในมาตรา 71
                  วรรค 3 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ที่บัญญัติว่า “รัฐพึงให้ความช่วยเหลือเด็ก…
                  ให้สามารถด�ารงชีวิตได้อย่างมีคุณภาพ”


                          การที่รัฐปล่อยให้เกิดภาวะมลพิษทางอากาศได้สร้างผลกระทบต่อสิทธิเด็กอย่างมาก องค์การ

                  อนามัยโลก (WHO) กล่าวยืนยันอย่างชัดเจนว่า “เด็กมีสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานที่จะหายใจอากาศสะอาด
                  ในบ้าน โรงเรียน และชุมชน”  ด้วยเหตุนี้ รัฐควรเร่งด�าเนินมาตรการเพื่อจัดการกับอันตรายและความเสี่ยง
                                          21
                  ของภาวะมลพิษมลพิษทางสิ่งแวดล้อมที่จะส่งผลต่อสุขภาพของเด็ก  ในความเห็นทั่วไป ฉบับที่ 15
                                                                               22
                  ของคณะกรรมาธิการว่าด้วยสิทธิเด็ก ได้ระบุถึงหัวใจหลักของการเลี้ยงเด็กดูและการพัฒนาของเด็ก คือ

                  ที่อยู่อาศัยซึ่งมีสถานที่ประกอบอาหารที่ปลอดภัยปราศจากควันพิษ สารพิษ และเชื้อรา มีการระบาย
                  อากาศที่เหมาะสม มีการบริหารจัดการขยะและสิ่งปฏิกูลในที่อยู่อาศัยและบริเวณโดยรอบที่มีประสิทธิภาพ

                  เป็นต้น 23


                          จอห์น น็อกซ์ ผู้รายงานพิเศษขององค์การสหประชาชาติว่าด้วยประเด็นพันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชน
                  ที่เกี่ยวข้องกับการได้อุปโภคสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัย สะอาด ดี และยั่งยืน ได้เสนอรายงานต่อคณะมนตรี

                  สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติใน ค.ศ. 2018 ฉายภาพให้เห็นถึงความรุนแรงของภาวะมลพิษทางอากาศ
                                                                                            24
                  ที่เกิดขึ้นกับเด็ก และเรียกร้องให้ตระหนักถึงความจ�าเป็นที่จะต้องลดปัญหาดังกล่าวลง  ซึ่งสอดคล้องกับ

                  21   WHO, ‘Air Pollution and Children’s Health: A Global Health Emergency’, First WHO Global
                  Conference on Air Pollution and Health: Improving Air Quality, Combatting Climate Change-Saving
                  Lives (2018) <https://cdn.who.int/media/docs/default-source/air-pollution-documents/air-quality-

                  and-health/conference-on-air-pollution-and health/2_2_background_ap_childrens_health_a_global_
                  health_emergency.pdf?sfvrsn=57a0db20_9> accessed 5 March 2022.
                  22   General comment No. 15 (2013) on the right of the child to the enjoyment of the highest attainable
                  standard of health, para 49.
                  23   Ibid.
                  24   HRC, Report of the Special Rapporteur on the Issue of Human Rights Obligations Relating to the Enjoyment
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20