Page 12 - kpiebook65055
P. 12
12 การศึกษาวิเคราะห์ร่างกฎหมายและกฎหมายที่เกี่ยวกับสิทธิในอากาศสะอาด
1.3 สิทธิมนุษยชนที่ได้รับผลกระทบ
จากการละเมิดสิทธิในอากาศสะอาด
การที่ไม่มีมาตรการที่ชัดเจนเพื่อรับมือกับปัญหาภาวะมลพิษทางอากาศ อาจส่งผลให้ประเทศไทย
สุ่มเสี่ยงต่อการละเมิดสนธิสัญญาระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนหลายฉบับที่ประเทศไทยเป็นภาคี
สมาชิกและมีพันธกรณีที่จะต้องด�าเนินการให้เป็นไปตามเนื้อความในสนธิสัญญา อันได้แก่ กติการะหว่าง
ประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights
11
(ICCPR)) กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (International Covenant
on Economic, Social and Cultural Rights (ICESCR)) และอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (Convention of
12
13
the Rights of the Child)
1.3.1 สิทธิในชีวิต
การที่รัฐไม่ด�าเนินการให้มีคุณภาพของอากาศที่เหมาะสม ส่งผลต่อการอุปโภคสิทธิในชีวิต
ของปัจเจกบุคคลที่ได้รับการรับรองอยู่ใน ข้อ 6 (1) แห่ง ICCPR ระบุว่า “มนุษย์ทุกคนมีสิทธิที่จะมีชีวิต
มาแต่ก�าเนิด (inherent right to life) สิทธินี้ต้องได้รับการคุ้มครองโดยกฎหมาย บุคคลจะต้อง
ไม่ถูกท�าให้เสียชีวิตโดยอ�าเภอใจ” เนื้อความในข้อนี้ได้รับการอนุวัติการอยู่ในมาตรา 28 แห่งรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ที่บัญญัติว่า “บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย”
อากาศที่ไม่บริสุทธิ์ถือว่าเป็นความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมประเภทหนึ่งที่ในปัจจุบัน
ได้น�าไปสู่ปัญหาในระดับโลก คือ การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ความเห็นทั่วไป ฉบับที่ 6
ว่าด้วยสิทธิในชีวิตของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน ระบุว่า ความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการพัฒนาที่ไม่ยั่งยืน เป็นภัยเร่งด่วนและร้ายแรงที่สุด ที่คุกคาม
ความสามารถของคนในรุ่นปัจจุบันและคนในรุ่นอนาคตที่จะอุปโภคสิทธิในชีวิต ประเด็นคือ รัฐมีหน้าที่
14
ต้องด�าเนินการอย่างไรจึงจะเป็นการปฏิบัติตาม ข้อ 6 (1) แห่ง ICCPR เนื่องจากข้อ 6 (1) ไม่ได้ระบุเนื้อหา
เกี่ยวกับสิ่งที่รัฐจะต้องปฏิบัติในเรื่องสิ่งแวดล้อมเอาไว้ ต่อประเด็นนี้ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนระบุ
ให้รัฐพิจารณาด�าเนินการตามพันธกรณีที่อยู่ในกฎหมายสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ มาตรการที่รัฐภาคี
ต้องปฏิบัติ คือ การรักษาสิ่งแวดล้อมและคุ้มครองสิ่งแวดล้อมไม่เกิดความเสียหาย ไม่ให้เกิดภาวะมลพิษ
และไม่ให้เกิดภาวะการณ์เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งก่อขึ้นโดยตัวแสดงที่เป็นรัฐและเอกชน รวมไปถึง
การประกันให้มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน พัฒนาและน�ามาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมไปใช้บังคับ
11 International Covenant on Civil and Political Rights (enter into forced 23 March 1976) 999 UNTS 171.
12 International Covenant on Economic, Social and Cultural Rights (entered into force 3 January 1976) 993 UNTS 2
13 Convention of the Rights of the Child (entered into force 2 September 1990) 1577 UNTS 3
14 General Comment No. 36 (2018) on the right to life, para 62.