Page 14 - kpiebook65055
P. 14
14 การศึกษาวิเคราะห์ร่างกฎหมายและกฎหมายที่เกี่ยวกับสิทธิในอากาศสะอาด
1.3.3 สิทธิในการมีมาตรฐานการด�ารงชีวิตที่เพียงพอ
(right to an adequate standard of living)
สิทธิในการมีมาตรฐานการครองชีพที่เพียงพอ อาจถูกกระทบจากความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม
อันเกิดจากการกระท�าของมนุษย์ สิทธิดังกล่าวได้รับการรับรองอยู่ในมาตรา 11 ของกติการะหว่างประเทศ
ว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ที่ก�าหนดให้บุคคลทุกคนมีสิทธิได้รับมาตรฐานการครองชีพ
ที่เพียงพอส�าหรับตนเองและครอบครัว รวมไปถึงสิทธิในอาหาร เครื่องนุ่งห่ม และที่อยู่อาศัยที่เพียงพอ
และการปรับปรุงมาตรฐานการครองชีพอย่างต่อเนื่องอีกด้วย ในความเห็นทั่วไป ฉบับที่ 4 (1991) เกี่ยวกับ
สิทธิในที่อยู่อาศัยที่เพียงพอ คณะกรรมการว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ได้อธิบายถึง
ขอบเขตและการปรับใช้สิทธิในที่อยู่อาศัย โดยระบุว่าสิทธิดังกล่าวนี้เป็นหัวใจส�าคัญของการอุปโภค
สิทธิทางเศรษฐกิจ สิทธิทางสังคม และสิทธิวัฒนธรรม รัฐมีหน้าที่ในการระดมทรัพยากรที่มีอยู่ทั้งหมด
เพื่อท�าให้เกิดสิทธิในที่อยู่อาศัยส�าหรับทุกคนเป็นจริงขึ้นได้ รัฐจึงจ�าเป็นต้องสร้างเหตุปัจจัยที่ส�าคัญ
ในการท�าให้สิทธินี้เป็นจริงขึ้น เช่น ความมั่นคงทางนิติฐานะในที่ดิน การมีอยู่ของที่อยู่อาศัย เป็นต้น
ในเรื่องสิทธิเกี่ยวกับอาหารนั้น คณะกรรมการว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
ได้อธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับเนื้อหาของมาตรา 11 ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ
สังคม และวัฒนธรรม และพันธกรณีที่เกี่ยวข้องเอาไว้ในความเห็นทั่วไป ฉบับที่ 12 (ค.ศ.1999) โดยกล่าวว่า
สิทธิที่จะได้รับอาหารอย่างเพียงพอเป็นส่วนหนึ่งของมาตรฐานการครองชีพที่เพียงพอ และจ�าเป็นที่รัฐ
ต้องมีการน�านโยบายด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคมมาใช้อย่างเหมาะสม เพื่อให้แน่ใจว่ามีอาหาร
18
อย่างเพียงพอ ท�าให้เกิดหน้าที่ของรัฐในการด�าเนินการเพื่อบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน
19
คณะกรรมการว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ได้เชื่อมโยงสิทธิในการมีมาตรฐาน
การครองชีพที่เพียงพอกับสิทธิในการใช้น�้า โดยในความเห็นทั่วไป ฉบับที่ 15 (ค.ศ. 2003) คณะกรรมการ
กล่าวว่ามาตรา 11 นั้นได้ประกันสิทธิในการใช้น�้าเอาไว้ด้วย เนื่องจากการจัดหาน�้าสะอาดที่เพียงพอ
จ�าเป็นต่อการท�าให้มาตรฐานการครองชีพที่เพียงพอเป็นจริงได้ นอกจากนั้นยังอธิบายต่อว่าสิทธิในน�้า
นั้นเชื่อมโยงอย่างแยกไม่ออกกับสิทธิในมาตรฐานด้านสุขภาพสูงสุดที่ท�าได้ในมาตรา 12 ดังนั้น รัฐควรประกันว่า
แหล่งน�้าธรรมชาติได้รับการปกป้องจากสารอันตราย และควรด�าเนินการเพื่อต่อสู้กับสถานการณ์ที่
ระบบนิเวศทางน�้าเป็นที่อยู่อาศัยของพาหะน�าโรค ด้วยเหตุนี้ หากเกิดมลพิษทางอากาศที่เชื่อมโยงกับ
20
ความเสียหายของแหล่งน�้า เช่น กรณีสารมลพิษที่อยู่ในอากาศเมื่อฝนตกลงมา จึงน�าพาให้น�้าฝนที่ปนเปื้อน
สารมลพิษไหลลงสู่แหล่งน�้า จนท�าให้ประชาชนไม่สามารถอุปโภคสิทธิในมาตรฐานการครองชีพที่เพียงพอ
18 Committee on Economic, Social and Cultural Rights (1999) General Comment 12: The right to adequate
food (Article 11 of the Covenant) UN Doc E/C.12/1999/5 (12 May 1999) 14
19 Ibid 25
20 Committee on Economic, Social and Cultural Rights (2003) General Comment 15: The Right to Water
(Articles 11 and 12 of the Covenant) UN Doc E/C.12/2002/11 (20 January 2003)