Page 97 - kpiebook65030
P. 97
96 ประเด็นส�ำคัญที่พึงมีและควรแก้ไขตำมรัฐธรรมนูญแห่งรำชอำณำจักรไทย พุทธศักรำช 2560
รัฐธรรมนูญศึกษา : กลไกของรัฐธรรมนูญและรัฐธรรมนูญเปรียบเทียบ
นอกจากนี้ยังรวมไปถึง สถานการณ์ระบาดของโรคโควิด 19 รัฐบาล
ก็ไม่สามารถที่จะประกาศล็อคดาวน์เพื่อจำากัดกิจกรรมและปิดสถานที่ต่าง ๆ ได้
นอกจากนี้ยังไม่สามารถสั่งการจังหวัดต่าง ๆ ได้ โดยรัฐบาลทำาได้เพียงขอ
ความร่วมมือจากประชาชนให้ทำาตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดเท่านั้น
แม้ว่าจะมีการสำารวจความคิดเห็นของประชนชาชน ในปี 2564 เกี่ยวกับการแก้ไข
รัฐธรรมนูญเพื่อนำาไปสู่การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินสำาหรับการจัดการกับ
การแพร่ระบาดโควิด ซึ่งประชาชนกว่าร้อยละ 57 เห็นด้วย แต่การแก้ไข
รัฐธรรมนูญก็ไม่สามารถประสบความสำาเร็จได้
บทสรุป
ประเทศญี่ปุ่นถือเป็นตัวแบบที่สำาคัญในการพัฒนาประชาธิปไตย
ที่มีรัฐธรรมนูญเป็นแกนกลาง และมีการปฏิรูปต่อเนื่องมา ทั้งการเมือง เศรษฐกิจ
และสังคม หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ทุกฝ่ายได้รับบทเรียนจากความสูญเสีย
ที่เกิดขึ้น จึงมีฉันทามติร่วมกันที่จะยึดมั่นต่อประชาธิปไตย สิทธิเสรีภาพ
และการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อลดความเหลื่อมลำ้า โดยมีการปลดทหารและ
สลายกองทัพ มีการกระจายอำานาจผ่านการเลือกตั้งในทุกระดับเพื่อหยั่งราก
ประชาธิปไตยตั้งแต่ระดับท้องถิ่น มีการลดการกระจุกตัวของความมั่งคั่ง
ผ่านการปฏิรูปที่ดินและการคุ้มครอง SME ปฏิเสธไม่ได้ว่าสหรัฐฯเป็นผู้มีบทบาท
สำาคัญในการร่างรัฐธรรมนูญนี้ แต่รัฐธรรมนูญฉบับนี้เองก็เป็นไปตามเจตนารมณ์
ของประชาชนชาวญี่ปุ่นที่ต้องการสันติภาพ ประชาธิปไตย และสิทธิเสรีภาพ
เช่นเดียวกัน