Page 95 - kpiebook65030
P. 95
94 ประเด็นส�ำคัญที่พึงมีและควรแก้ไขตำมรัฐธรรมนูญแห่งรำชอำณำจักรไทย พุทธศักรำช 2560
รัฐธรรมนูญศึกษา : กลไกของรัฐธรรมนูญและรัฐธรรมนูญเปรียบเทียบ
อย่างไรก็ตาม ด้วยช่วงที่สภาวะสงครามเย็นที่กำาลังเข้มข้น โดยเฉพาะ
ช่วงสงครามเกาหลี ฝ่ายสหรัฐอเมริกาได้เปลี่ยนจุดยืน โดยต้องการให้ญี่ปุ่น
มีกองกำาลังทหารขึ้นมาเพื่อช่วยสนับสนุนสหรัฐฯ โดยประธานาธิบดีนิกสันเอง
ออกมายอมรับว่ามาตรา 9 เป็นข้อผิดพลาด นอกจากสงครามเกาหลี
ยังมีสถานการณ์อื่น ๆ เช่น สงครามอิรัก-อิหร่าน สงครามอ่าวเปอร์เซีย
หรือแม้กระทั่งปัญหานิวเคลียร์เกาหลีเหนือ ซึ่งประเทศญี่ปุ่นก็มีความพยายาม
ที่จะตีความมาตรา 9 ขึ้นมาใหม่ เช่น ก่อตั้งกองกำาลังป้องกันตนเอง โดยตีความว่า
ญี่ปุ่นสามารถมีกองกำาลังตนเองเพื่อรักษาความอยู่รอดเท่านั้น หรือการออก
กฎหมายเพื่อให้สามารถส่งกองกำาลังป้องกันตนเองไปร่วมกับกองกำาลังรักษา
สันติภาพได้ แต่จะร่วมในแนวหลัง เช่น การขนส่ง การแพทย์ การเก็บกู้ระเบิด ฯลฯ
โดยกฎหมายนี้ญี่ปุ่นจะส่งกองกำาลังออกจากประเทศได้ก็ต่อเมื่อไปร่วมในภารกิจ
รักษาสันติภาพของสหประชาชาติเท่านั้น จะเห็นได้ว่า ประเทศญี่ปุ่นประสบ
ความยากลำาบากอย่างมากระหว่างการธำารงไว้ซึ่งมาตรา 9 และการต้องตอบ
สนองสถานการณ์ความมั่นคงรอบด้านตั้งแต่ช่วงสงครามเย็นจนถึงปัจจุบัน
การกระจายอ�านาจ (Decentralization) และการลด
การกระจุกตัวของความมั่งคั่ง : ในมาตรา 92-95 ของรัฐธรรมนูญ ได้เน้น
ความเป็นอิสระขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อช่วยหยั่งรากประชาธิปไตย
ไปในระดับประชาชน โดยมีการยุบกระทรวงมหาดไทย การให้สภาและ
ผู้บริหารท้องถิ่นทุกระดับมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน การให้
ประชาชนสามารถเสนอกฎหมาย ระเบียบท้องถิ่น ตลอดจนสามารถเสนอเรื่อง
ถอดถอนผู้บริหารท้องถิ่นได้ ทำาให้ จังหวัด เทศบาล การปกครองส่วนท้องถิ่น
กว่า 3,200 แห่ง ล้วนมาจากการเลือกตั้ง ประชาชนญี่ปุ่นได้คุ้นเคยกับ
ระบอบประชาธิปไตยผ่านการเลือกตั้ง การถอดถอน และการมีส่วนร่วมในลักษณะ
อื่น ๆ อันเป็นรากฐานสำาคัญให้ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศเสรีประชาธิปไตย
ไปในที่สุด