Page 94 - kpiebook65030
P. 94
93
แม้สหรัฐฯ จะเป็นผู้มีบทบาทสำาคัญ แต่ร่างรัฐธรรมนูญก็มิได้มา
จากฐานคิดของสหรัฐฯเท่านั้น หากแต่ยังมีการประมวลทั้งจากหลักพอสดัม
ข้อเขียน ข้อเสนอแนะในหนังสือพิมพ์ แล้วสังเคราะห์ออกมาเป็นรัฐธรรมนูญ
นอกจากนี้ ในกระบวนการรัฐสภาของญี่ปุ่นเองก็ได้มีการเจรจาต่อรองเพื่อแก้ไข
ข้อความในหลายจุด ซึ่งสหรัฐฯเองก็โอนอ่อนผ่อนตามข้อเรียกร้องเหล่านี้ด้วย
กล่าวได้ว่า รัฐธรรมนูญฉบับนี้ถือเป็นผลผลิตอันเกิดจากการทำางานร่วมกัน
ระหว่างสหรัฐฯและญี่ปุ่นนั่นเอง
ลักษณะพิเศษของรัฐธรรมนูญญี่ปุ่น
การปลดทหาร (Demilitarization) : หลังสงครามโลกครั้งที่ 2
การปลดอาวุธ การสลายกองทัพเป็นสิ่งแรกที่ฝ่ายสัมพันธมิตรต้องดำาเนินการ
ในทันที โดยมีการยุบกระทรวงกลาโหม กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ
ยกเลิกการเกณฑ์ทหาร ดังนั้น รัฐธรรมนูญฉบับจึงได้ให้อัตลักษณ์ใหม่กับประเทศ
ญี่ปุ่น นั่นคือ การมุ่งเน้นพัฒนาประชาธิปไตยและใฝ่สันติภาพ โดยบัญญัติไว้
ในมาตรา 9 ซึ่งเป็นแนวทางที่ญี่ปุ่นจะลสะสิทธิในการใช้กำาลังแก้ไขข้อขัดแย้ง
ระหว่างประเทศ ภายหลังเรียกว่า “หลักการโยชิดะ” อันประกอบด้วย 3 เสาหลัก
นั่นคือ นโยบายความมั่นคงที่ไม่มีกองทัพ โดยญี่ปุ่นจะใช้งบประมาณด้านการป้องกัน
ประเทศน้อยที่สุด ประการที่สอง ญี่ปุ่นจะนำาทรัพยากรไปเน้นพัฒนาเศรษฐกิจ
เพื่อฟื้นฟูประเทศและสร้างความอยู่ดีกินดีให้แก่ประชาชน ประการที่สาม
ญี่ปุ่นจะไม่พยายามมีบทบาทในการระหว่างประเทศ ซึ่งหลักการโยชิดะนี้เอง
เป็นเสาหลักสำาคัญของแนวนโยบายบริหารประเทศและการต่างประเทศของญี่ปุ่น