Page 93 - kpiebook65030
P. 93
92 ประเด็นส�ำคัญที่พึงมีและควรแก้ไขตำมรัฐธรรมนูญแห่งรำชอำณำจักรไทย พุทธศักรำช 2560
รัฐธรรมนูญศึกษา : กลไกของรัฐธรรมนูญและรัฐธรรมนูญเปรียบเทียบ
บทบาทของญี่ปุ่นเอง : ในการประชุุมที่พอตสดัม ประเทศเยอรมนี
เพื่อกำาหนดสถานะของผู้แพ้สงคราม ได้มีการออก “คำาประกาศพอตสดัม” ซึ่ง
แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มและความปรารถนาของชาวญี่ปุ่นที่ต้องเป็นประชาธิปไตย
ขจัดลัทธิทหารนิยม ทลายโครงสร้างสังคมแบบเดิม เพื่อให้มั่นใจได้ว่า ประเทศ
ญี่ปุ่นจะไม่หวนกลับไปทำาสงครามอีก นายพลแมกอาร์เธอร์เองก็ได้นำาหลักการ
พอสดัมดังกล่าวมาเป็นหลักในการร่างรัฐธรรมนูญของประเทศญี่ปุ่น ขณะเดียวกัน
ชาวญี่ปุ่นเองก็มีบทบาทในร่างรัฐธรรมนูญอยู่พอสมควร ทั้งในการปรับแก้ไข
ข้อความบางมาตราในช่วงการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี การแปลรัฐธรรมนูญ
จากภาษาอังกฤษเป็นภาษาญี่ปุ่น เพื่อให้ชาวญี่ปุ่นซึ่งมีระดับการรู้หนังสือ
สูงถึงร้อยละ 90 ได้ร่วมแสดงความคิดผ่านช่องทางต่าง ๆ อีกด้วย
ในระหว่างการพิจารณาโดยรัฐสภา สหรัฐฯก็ได้เปิดโอกาสให้สามารถแก้ไข
เพิ่มเติมเนื้อหาลงไปในรัฐธรรมนูญได้ โดยเฉพาะในประเด็นสำาคัญ เช่น
สถานะของสมเด็จพระจักรพรรดิ หรือการสละสิทธิที่จะก่อสงครามของรัฐ
นายกรัฐมนตรีชิเงรุ โยชิดะ เน้นยำ้าให้รัฐสภาผ่านด้วยเหตุผล 3 ประการ นั่นคือ
1. กันไม่ให้พวกสุดโต่งในรัฐสภาเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประธานาธิบดี
2. ไม่ให้ชาติสัมพันธมิตรอื่นเข้ามาแทรกแซง 3. จะช่วยยุติการยึดครองของสหรัฐฯ
ได้ ในท้ายที่สุด ร่างรัฐธรรมนูญจึงสามารถผ่านการพิจารณาของรัฐสภา และ
ได้มีผลบังคับใช้วันที่ 3 พฤษภาคม 1947 นับแต่นั้นเป็นต้นมา
รัฐธรรมนูญปี 1947 จึงเป็นรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยอย่างมาก
โดยกำาหนดให้อำานาจอธิปไตยเป็นของปวงชน กษัตริย์เป็นเพียงสัญลักษณ์
ไม่มีพระราชอำานาจ มีการรับรองสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนอย่างเดียวเท่าเทียม
และจำากัดอำานาจของรัฐไม่ให้ไปละเมิดสิทธิของประชาชนดังเช่นในสมัยสงคราม
ซึ่งถือว่าเป็นไปตามความปรารถนาของประชาชนชาวญี่ปุ่นเอง