Page 102 - kpiebook65030
P. 102
101
ของฝ่ายหลังได้รับการยอมรับ มีการร่างรัฐธรรมนูญที่เมืองไวมาร์จนเสร็จสิ้นใน
ฤดูร้อน ปี 1919 และได้ประกาศใช้ในปีเดียวกันนั้นเอง
สาระส�าคัญของรัฐธรรมนูญไวมาร์ ปี 1919 : รัฐธรรมนูญ
ฉบับนี้ได้กำาหนดให้ประเทศเยอรมนีเป็น ‘สาธารณรัฐ’ อำานาจรัฐมาจาก
ปวงชน ใช้ระบบรัฐสภาโดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุขของประเทศ ซึ่งมาจาก
การเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน ประธานาธิบดีมีอำานาจในการแต่งตั้ง
ถอดถอนรัฐมนตรี มีอำานาจในการยุบสภา และยังสามารถใช้อำานาจเด็ดขาด
ในกรณีที่มีการประกาศใช้สถานการณ์ฉุกเฉิน จะสังเกตุได้ว่าอำานาจของ
ประธานาธิบดีในรัฐธรรมนูญฉบับนี้มีค่อนข้างมาก ซึ่งจุดนี้เองที่ทำาให้รัฐธรรมนูญ
ไวมาร์ปี 1919 ประสบกับความล้มเหลวในที่สุด
ความล้มเหลวรัฐธรรมนูญไวมาร์ : Frotscher และ Pieroth
ได้วิเคราะห์การล่มสลายของสาธารณรัฐไวมาร์นั้นมาจากปัจจัย 2 ประการ
นั่นคือ ประการแรกจากปัจจัยภายนอก ซึ่งเป็นผลมาจากสนธิสัญญาแวร์ซาย
ที่ทำาให้ประเทศเยอรมนี ณ ขณะนั้นต้องประสบกับปัญหาในการพัฒนาประเทศ
โดยเฉพาะในเรื่องเศรษฐกิจและสังคม นอกจากนี้ในช่วงปี 1929 เกิดวิกฤต
เศรษฐกิจระดับโลกอันเป็นผลให้เกิดการว่างงานจำานวนมาก ปัจจัยภายนอกนี้เอง
ที่สร้างความท้าทายให้กับการบริหารประเทศของสาธารณรัฐไวมาร์อย่างมาก
อันเป็นสาเหตุหนึ่งของการทำาให้ปัจจัยประการที่สองเห็นได้ชัดเจนมากขึ้น
นั่นคือ ความบกพร่องของการจัดโครงสร้างภาครัฐ โดยรัฐธรรมนูญได้วางหลักการ
อันนำาไปสู่ความขัดแย้งเกินกว่าที่สาธารณรัฐใหม่จะแก้ไขได้ กล่าวคือ รัฐธรรมนูญ
ได้ออกแบบระบบอำานาจคู่ ระหว่างประธานาธิบดีและรัฐสภา ทำาให้ทั้งสองอำานาจ
ต้องเผชิญหน้ากันอยู่บ่อยครั้ง ส่งผลให้เกิดความอ่อนแอของสถาบันทางการเมือง
นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญยังได้กำาหนดให้การบริหารงานของฝ่ายบริหารขึ้นอยู่กับ