Page 105 - kpiebook65030
P. 105
104 ประเด็นส�ำคัญที่พึงมีและควรแก้ไขตำมรัฐธรรมนูญแห่งรำชอำณำจักรไทย พุทธศักรำช 2560
รัฐธรรมนูญศึกษา : กลไกของรัฐธรรมนูญและรัฐธรรมนูญเปรียบเทียบ
ศาลรัฐธรรมนูญ : ในรัฐธรรมนูญฉบับไวมาร์มีข้อบกพร่อง
หลายประการที่ทำาให้ตัวรัฐธรรมนูญนั้นทำาลายตัวเอง เช่น การกำาหนดให้
เสียงข้างมากสามารถแก้ไขรัฐธรรมนูญได้โดยปราศจากข้อจำากัด การให้
ประธานาธิบดีมีอำานาจเด็ดขาดในกรณีเกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน จนนำาไปสู่
ความเข้มแข็งของพรรคนาซีในที่สุด ในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จึงได้กำาหนดให้มี
ศาลรัฐธรรมนูญ โดยใช้แม่แบบจากศาลสูงสุดของสหรัฐอเมริกา ศาลแห่ง
สหพันธ์รัฐของสวิตเซอร์แลนด์ ศาลรัฐธรรมนูญของออสเตรีย และศาลระหว่าง
ประเทศที่กรุงเฮก อย่างไรก็ตาม ศาลรัฐธรรมนูญของเยอรมนีแตกต่างจาก
ศาลอื่น ๆ ที่เคยมีมาในอดีต เนื่องจากศาลรัฐธรรมนูญของประเทศเยอรมนี
มีอำานาจค่อนข้างมาก กล่าวคือ ศาลรัฐธรรมนูญประเทศอื่น ๆ มีอำานาจหน้าที่
เพียงควบคุมความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมายเท่านั้น ในขณะที่
ศาลรัฐธรรมนูญประเทศเยอรมนีมีอำานาจในการตีความรัฐธรรมนูญในประเด็น
เกี่ยวกับขอบเขตสิทธิและหน้าที่องค์กรสูงสุดของสหพันธ์ อำานาจในกรณีที่มี
ข้อสงสัยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมาย หรืออำานาจในกรณีร้องทุกข์
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อันมาจากกฎหมายที่ละเมิดสิทธิในการปกครอง
ตนเอง เป็นต้น
การสร้างสถาบันการเมืองให้เป็นระบบรัฐสภาสมัยใหม่ :
ซึ่งเป็นการทำาให้ฝ่ายบริหารมีความเข็มแข็ง ระบบรัฐสภามีเสถียรภาพมากขึ้น
โดยใช้มาตรการใหม่ได้แก่ 1. การสร้างภาวะผู้นำาทางการเมืองให้แก่นายกรัฐมนตรี
โดยให้นายกรัฐมนตรีกำาหนดแนวนโยบายในทางการเมืองและให้นายกรัฐมนตรี
รับผิดชอบต่อนโยบายดังกล่าว ให้นายกรัฐมนตรีเป็นประธานในการดำาเนินการ
ตามระเบียบข้อบังคับรัฐบาล 2. การเปลี่ยนจากการอภิปรายแบบทำาลาย
จากรัฐธรรมนูญไวมาร์เป็นการอภิปรายแบบสร้างสรรค์ โดยสภาผู้แทนราษฎร
จะเปลี่ยนแปลงรัฐบาลได้ก็ต่อเมื่อสภาผู้แทนราษฎรได้เลือกบุคคลที่จะมา