Page 103 - kpiebook65030
P. 103
102 ประเด็นส�ำคัญที่พึงมีและควรแก้ไขตำมรัฐธรรมนูญแห่งรำชอำณำจักรไทย พุทธศักรำช 2560
รัฐธรรมนูญศึกษา : กลไกของรัฐธรรมนูญและรัฐธรรมนูญเปรียบเทียบ
ความไว้วางใจของรัฐสภา ส่งที่เกิดขึ้นคือ 14 ปี ของรัฐธรรมนูญไวมาร์ เกิดการ
เปลี่ยนแปลงของรัฐบาลมากกว่า 20 ชุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากพรรคการเมือง
หัวรุนแรงทั้งฝ่ายซ้ายและฝ่ายขวา อันนำามาสู่การขึ้นมีอำานาจพรรคนาซี การก่อ
สงครามโลกครั้งที่ 2 และความพ่ายแพ้ของสงครามในที่สุด
กระบวนการในการจัดท�ารัฐธรรมนูญปี 1949 : ภายหลัง
การพ่ายแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 เยอรมนีถูกปกครองโดยฝ่ายสัมพันธมิตร
ช่วงเดือนมิถุนายน 1948 กรุงลอนดอนได้ออก “เอกสารแฟรงก์เฟิร์ด” โดย
เนื้อหาสรุปได้ว่า จะมอบอำานาจให้นายกรัฐมนตรีแต่ละมลรัฐในด้านตะวันตก
ดำาเนินการประชุมกันเพื่อจัดให้มีรัฐธรรมนูญใหม่ โดยร่างรัฐธรรมนูญนั้น
จะต้องให้มีการคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐาน เป็นรัฐธรรมนูญแบบเสรีประชาธิปไตย
โครงสร้างรัฐเป็นแบบสหพันธรัฐ รัฐบาลกลางมีอำานาจที่เหมาะสม ท้ายที่สุด
ได้มีการหารือกันระหว่างนายกรัฐมนตรีแต่ละมลรัฐและผู้ปกครองทางการทหาร
ของฝ่ายสัมพันธมิตร จากนั้นมีข้อสรุปในเดือนกรกฎาคม ปี 1948 โดยมีข้อสรุปว่า
รัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้จะเรียกว่า “กฎหมายพื้นฐาน” (Basic Constitution Law
- ภาษาอังกฤษ ) (Grundgesetz - ภาษาเยอรมนี) โดยคณะร่างรัฐธรรมนูญนั้น
มาจากตัวแทนของแต่ละมลรัฐ และผ่านความเห็นชอบจากสภาแห่งมลรัฐ ต่อมา
ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญเพื่อกำาหนดกรอบการร่างรัฐธรรมนูญ
ซึ่งเป็นแนวคิดพื้นฐานที่เห็นพ้องต้องกันซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นในรัฐธรรมนูญฉบับ
ไวมาร์ เช่น การใช้ระบบ 2 สภา, การมีนายกรัฐมนตรีที่เป็นผู้นำาสูงสุดซึ่งอยู่ได้
ด้วยความไว้วางใจจากสภา, การใช้อำานาจฉุกเฉินเป็นอำานาจของรัฐบาลสหพันธ์
และสภาตัวแทนมลรัฐ, การแก้ไขรัฐธรรมนูญซึ่งจะกระทบต่อหลักพื้นฐาน
ของความเป็นประชาธิปไตยจะกระทำามิได้ ในที่สุดวันที่ 8 พฤษภาคม 1949
เวลา 23.55 น. ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบต่อร่างรัฐธรรมนูญและประกาศใช้
ในวันที่ 23 พฤษภาคม 1949 และยังมีผลบังคับใช้จนถึงทุกวันนี้