Page 68 - kpiebook65030
P. 68
67
อย่างไรก็ตาม ใช่ว่าจะไม่มีความพยายามของฝ่ายกษัตริย์ ที่จะสละ
อำานาจที่มีมาแต่เดิมให้กับหลักนิติธรรม ความขัดแย้งระหว่างกษัตริย์กับรัฐสภา
ยังดำาเนินอยู่เสมอ จนกระทั่งช่วงศตวรรษที่ 17 ความขัดแย้งดังกล่าวนำาไปสู่
สงครามกลางเมือง ซึ่งเรียกว่า การปฏิวัติอันรุ่งโรจน์ จบลงด้วยความพ่ายแพ้
ของฝ่ายกษัตริย์ นำาไปสู่กฎหมายว่าด้วยสิทธิขั้นพื้นฐานของพลเมือง (Bill of
Rights) ค.ศ. 1689 และคำาประกาศสิทธิขั้นพื้นฐานของรัฐสภา ซึ่งเอกสาร
ทั้งสองนั้นก็ได้อาศัยหลักการเดียวกับมหากฎบัตรแมกนาคาร์ตานั่นเอง
ภายหลังจากการปฏิวัติอันรุ่งโรจน์ ประเทศอังกฤษก็ได้มีการสถาปนา
หลักการสำาคัญเพื่อวางโครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันทางการเมือง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการคงไว้ซึ่งสถาบันกษัตริย์ เช่น หลักการอำานาจสูงสุดใน
การนิติบัญญัติเป็นของรัฐสภา ห้ามกษัตริย์แทรกแซงภารกิจของสภาสมาชิก
รัฐสภา สมาชิกรัฐสภาต้องมาจากการเลือกตั้ง ห้ามมิให้จัดเก็บภาษีโดยปราศจาก
ความยินยอมของประชาชน ความเป็นอิสระของศาล การสืบราชสันตติวงศ์
เป็นต้น
ศตวรรษที่ 20 จนถึงปัจจุบัน
ช่วงนี้เองที่ประเทศอังกฤษมีความเคลื่อนไหวหลายครั้งจนทำาให้
ความกฎหมายรัฐธรรมนูญมีความชัดเจนขึ้น เช่น ปี ค.ศ. 1918 การกำาหนด
ให้พลเมืองอังกฤษทุกคนมีสิทธิเลือกตั้ง จากเดิมที่รับรองสิทธิการเลือกตั้ง
ให้เพียงผู้ชายเท่านั้น ปี ค.ศ. 1973 เมื่ออังกฤษได้เข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป
ได้มีการตรากฎหมายว่าด้วยสิทธิมนุษยชนขึ้น อันทำาให้ศาลมีความเป็นอิสระ
และมีอำานาจหน้าที่ในการคุ้มครองสิทธิประชาชนมากขึ้น ค.ศ. 2005 รัฐสภา
ได้ออกกฎหมายปฏิรูปรัฐธรรมนูญ อันส่งผลให้สถานะของหลักนิติธรรม มีสถานะ