Page 64 - kpiebook65024
P. 64
63
พระมหากษัตริย์ทรงคัดเลือกและแต่งตั้งตามพระราชอัธยาศัย หากรัฐธรรมนูญ
ก�าหนดเช่นนี้อาจท�าให้ประธานองคมนตรีอยู่ในสภาพเหมือนเป็นองค์กรทางการเมือง
ขัดกับหลักการที่ว่าพระมหากษัตริย์ทรงอยู่เหนือการเมือง หรืออีกกรณีหนึ่งคือ
การใช้พระราชอ�านาจยับยั้งร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา
และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในปี พ.ศ. 2535 ที่แก้ไขเพิ่มโทษปรับในคดี
ความผิดฐานหมิ่นประมาทไม่เกิน 200,000 บาท และก�าหนดค่าสินไหมทดแทน
ในมูลละเมิดต่อความเสียหายแก่ชื่อเสียงเป็นสองเท่าของค่าปรับทางอาญา
ซึ่งในเวลานั้นสังคมไทยก�าลังวิพากษ์วิจารณ์ร่างกฎหมายดังกล่าวว่าเป็นการจ�ากัด
ดุลพินิจของศาลและลิดรอนเสรีภาพของสื่อมวลชน (ปูนเทพ ศิรินุพงศ์, 2557)
ความในประเด็นนี้อาจทราบถึงพระเนตรพระกรรณจึงทรงไม่ลงพระปรมาภิไธยต่อ
ร่างกฎหมายดังกล่าว เป็นต้น แสดงให้เห็นถึงการเคารพในเชิงอ�านาจซึ่งกันและกันระหว่าง
ฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารในฐานะองค์กรตามรัฐธรรมนูญ กับพระมหากษัตริย์
ในฐานะที่ทรงเป็นพระประมุขของรัฐ
อย่างไรก็ดี เมื่อเราน�าบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2540 และ 2550
ในหมวดพระมหากษัตริย์มาพิจารณาเปรียบเทียบกันแล้วจะพบว่าบทบัญญัติในหมวด
พระมหากษัตริย์ของรัฐธรรมนูญทั้งสองฉบับนั้นมีหลักการส�าคัญที่เหมือนกันทุกประการ
เพียงแต่ถ้อยค�าบางส่วนอาจมีความแตกต่างกันบ้างเพื่อความสอดคล้องกับบทบัญญัติ
อื่นที่เกี่ยวข้องเท่านั้น ขณะที่บทบัญญัติในหมวดพระมหากษัตริย์ตามรัฐธรรมนูญ
พ.ศ. 2560 แม้ว่าส่วนใหญ่จะยังคงหลักการไว้เช่นเดิม โดยเฉพาะบทบัญญัติส่วนที่
เป็นพระราชสถานะ แต่ก็มีบางประเด็นในส่วนของพระราชอ�านาจที่แตกต่างไปจาก
รัฐธรรมนูญทั้งสองฉบับก่อนหน้านั้น ซึ่งผู้เขียนจะขอกล่าวถึงในหัวข้อถัดไป