Page 59 - kpiebook65024
P. 59
58 ประเด็นส�ำคัญที่พึงมีในรัฐธรรมนูญแห่งรำชอำณำจักรไทย
เดียวกัน มีสาระส�าคัญว่า “พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุขของรัฐ และทรงเป็น
ผู้ใช้อ�านาจอธิปไตยซึ่งเป็นของปวงชนชาวไทยผ่านองค์กรตามรัฐธรรมนูญ” และ
“องค์พระมหากษัตริย์ทรงด�ารงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้”
นัยเช่นนี้มิได้หมายความว่า รัฐธรรมนูญมีเจตนารมณ์ที่จะเชิดชูพระมหากษัตริย์
เสมือนเป็นสมมติเทพที่ผู้คนจะต้องกราบไหว้บูชา หากแต่เป็นการสะท้อนคติการปกครอง
แบบพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญที่พระมหากษัตริย์ทรงอยู่เหนือความรับผิดชอบ
ทางการเมือง หรือหลักการ “พระมหากษัตริย์ไม่ทรงกระท�าผิด (The King can do
no wrong)” ท�าให้ผู้ใดจะฟ้องร้องหรือกล่าวหาพระมหากษัตริย์ในทางใด ๆ ไม่ได้
ทั้งในทางแพ่งและทางอาญา (วิษณุ เครืองาม และบวรศักดิ์ อุวรรณโณ, 2520)
หลักการนี้จึงเป็นความคุ้มครองที่รัฐธรรมนูญมีให้แก่พระมหากษัตริย์ ด้วยเหตุที่ว่า
รัฐธรรมนูญฯ บัญญัติให้พระมหากษัตริย์ไม่อาจทรงใช้พระราชอ�านาจในการบริหาร
บ้านเมืองด้วยพระองค์เองได้ จะต้องมีรัฐบาลหรือองค์กรตามรัฐธรรมนูญอื่นเป็น
ผู้เสนอแนะให้ทรงใช้พระราชอ�านาจในเรื่องต่าง ๆ และผู้น�ารัฐบาลหรือผู้แทนองค์กร
ตามรัฐธรรมนูญอื่นจะเป็นผู้ลงนามสนองพระบรมราชโองการนั้น การตัดสินใจ
ด�าเนินนโยบายผ่านกฎหมายและค�าสั่งต่าง ๆ ล้วนเป็นด�าริของรัฐบาลหรือองค์กรตาม
รัฐธรรมนูญ ส่วนพระมหากษัตริย์ยอมให้ใช้พระนามของพระองค์ในกิจการบ้านเมือง
เท่านั้น ดังนั้นหากการบังคับใช้กฎหมายหรือค�าสั่งต่าง ๆ เกิดความเสียหายต่อบุคคลใด
ย่อมเป็นความรับผิดชอบของรัฐบาลหรือองค์กรตามรัฐธรรมนูญเพราะเป็นผู้ริเริ่มน�า
กฎหมายนั้น ๆ มาบังคับใช้ หาใช่ความรับผิดของพระมหากษัตริย์ไม่
2) พระมห�กษัตริย์ทรงเป็นพุทธม�มกะ และทรงเป็นอัครศ�สนูปถัมภก
ทั้งนี้เนื่องจากประชาชนชาวไทยส่วนใหญ่เป็นผู้ที่นับถือศาสนาพุทธ ดังนั้น รัฐธรรมนูญ
จึงก�าหนดให้พระมหากษัตริย์ซึ่งมีพระราชสถานะเป็นตัวแทนของรัฐไทยและปวงชน