Page 57 - kpiebook65024
P. 57

56   ประเด็นส�ำคัญที่พึงมีในรัฐธรรมนูญแห่งรำชอำณำจักรไทย




        โดยอาจมีชื่อเรียกแตกต่างกันไปในแต่ละสังคม และเมื่อผู้น�าคนนั้นเสียชีวิต ต�าแหน่ง

        ผู้น�าก็จะส่งต่อไปยังทายาทของผู้นั้น เรียกว่าการสืบราชสันตติวงศ์ การปกครอง
        ที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยหลักสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 รูปแบบ

        (มานิต จุมปา, 2553) คือ

               1) ก�รปกครองแบบสมบูรณ�ญ�สิทธิร�ชย์ (Absolute Monarchy)

        การปกครองรูปแบบนี้พระมหากษัตริย์จะทรงมีพระราชอ�านาจและพระบรมเดชานุภาพ
        เด็ดขาดและล้นพ้นแต่เพียงพระองค์เดียว จึงอาจกล่าวได้ว่า เป็นรูปแบบหนึ่งของ

        การปกครองแบบเผด็จการ (ซึ่งไม่ได้ชี้วัดว่าเป็นการปกครองที่ดีหรือเลว) การปกครอง
        เช่นนี้พบได้ทั่วไปในประวัติศาสตร์ของประเทศที่มีพระมหากษัตริย์เป็นผู้ปกครอง

        เช่น ประเทศไทยก่อน พ.ศ. 2475

               2) ก�รปกครองแบบปรมิต�ญ�สิทธิร�ชย์ (Limited Monarchy)

        การปกครองรูปแบบนี้พระมหากษัตริย์จะทรงมีอ�านาจทุกประการ เว้นแต่ที่ถูกจ�ากัด
        ไว้โดยบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ การปกครองรูปแบบนี้มักเป็นผลสืบเนื่องจาก

        พระมหากษัตริย์ในการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ยอมจ�ากัดพระราชอ�านาจ
        ของพระองค์เอง แล้วพระราชทานรัฐธรรมนูญให้แก่ประชาชน เช่น การปกครองของ

        ประเทศซาอุดิอาระเบียในปัจจุบัน

               3) ก�รปกครองแบบพระมห�กษัตริย์ภ�ยใต้รัฐธรรมนูญ (Constitutional

        Monarchy) ซึ่งพระมหากษัตริย์จะทรงใช้พระราชอ�านาจได้ตามที่รัฐธรรมนูญให้
        อ�านาจไว้ ทั้งนี้อาจเป็นรัฐธรรมนูญที่เป็นหรือไม่เป็นลายลักษณ์อักษรก็ได้ และ

        การใช้พระราชอ�านาจของพระมหากษัตริย์จะไม่ได้ด�าเนินการด้วยพระองค์เอง แต่จะมี
        องค์กรหรือหน่วยงานเป็นผู้รับผิดชอบแทน ในปัจจุบันประเทศส่วนใหญ่ที่มีพระมหากษัตริย์
        ทรงเป็นประมุขจะใช้การปกครองรูปแบบนี้ รวมถึงประเทศไทยในปัจจุบันด้วย
   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62