Page 62 - kpiebook65024
P. 62
61
2.2 พระราชอ�านาจตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ
ที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
นอกจากพระราชอ�านาจตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแล้ว พระมหากษัตริย์
ยังทรงมีพระราชอ�านาจตามแนวปฏิบัติทางการปกครองอันมีสถานะเป็นกฎหมายจารีต
ประเพณีและมีสภาพบังคับเป็นกฎหมายรัฐธรรมนูญเช่นเดียวกัน ด้วยเป็นที่ยอมรับกันว่า
ถ้ากรณีใดไม่มีบทบัญญัติรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายก�าหนดเงื่อนไขหรือข้อจ�ากัดการ
ใช้พระราชอ�านาจของพระมหากษัตริย์ไว้ พระมหากษัตริย์ก็ยังคงมีพระราชอ�านาจ
เช่นนั้นอยู่ในฐานะกฎหมายจารีตประเพณีซึ่งไม่เป็นลายลักษณ์อักษร (มานิต จุมปา,
2553) ซึ่งในประวัติศาสตร์การเมืองการปกครองของประเทศไทย ปรากฏจารีตประเพณี
ในการใช้พระราชอ�านาจของพระมหากษัตริย์ใน 3 กรณี คือ
1) พระร�ชอำ�น�จในก�รพิจ�รณ�ฎีก�ร้องทุกข์ สืบเนื่องจากการที่ราษฎร
ท�าหนังสือร้องทุกข์ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายต่อพระมหากษัตริย์เพื่อขอพระราชทาน
พระบรมราชานุเคราะห์ในเรื่องทุกข์ร้อนต่าง ๆ ในฐานะที่พระมหากษัตริย์ทรงเป็น
พระประมุขผู้บ�าบัดทุกข์บ�ารุงสุขให้แก่ราษฎร ซึ่งปรากฏสืบต่อกันมาตั้งแต่สมัย
กรุงสโขทัย (นันทกา พลชัย, 2532) การพิจารณาหนังสือฎีกาของราษฎรนั้น พระมหากษัตริย์
จะทรงพิจารณาด้วยพระองค์เองและใช้พระบรมราชวินิจฉัยพระราชทานความช่วยเหลือ
ให้ตามสมควร ประเด็นความเดือดร้อนที่ราษฎรมักถวายฎีกาเพื่อขอพระบรมราชานุเคราะห์
ได้แก่ การขอพระราชทานอภัยโทษที่ไม่ใช่โทษทางอาญาตามประมวลกฎหมายอาญา
การร้องทุกข์จากการกระท�าของส่วนราชการ การร้องทุกข์เพื่อขอพระราชทาน
ความช่วยเหลือ และการถวายข้อคิดเห็นต่าง ๆ เพื่อทรงทราบ