Page 217 - kpiebook65024
P. 217
216 ประเด็นส�ำคัญที่พึงมีในรัฐธรรมนูญแห่งรำชอำณำจักรไทย
อย่างไรก็ตาม ค�าวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 20/2564 ของศาลรัฐธรรมนูญ
ของประเทศไทยได้ผลออกมาแตกต่างจากค�าวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญของไต้หวัน
ท�าให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ค�าวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าวมากมาย รวมถึง
ประเด็นตุลาการภิวัตน์ในการใช้อ�านาจตุลาการก้าวล่วงให้ฝ่ายนิติบัญญัติตรากฎหมาย
เพื่อรับรองสิทธิและหน้าที่ของบุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศอย่างเหมาะสมต่อไป
(iLaw, 2564) โดยมีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้
ค�าวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 20/2564
กล่าวโดยสรุปค�าวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 20/2564 คือ ประมวลกฎหมาย
แพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1448 นั้นไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พ.ศ.2560 มาตรา 25 มาตรา 26 และมาตรา 27 วรรค 1 วรรค 2 และวรรค 3
ดังนั้นค�าวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 20/2564 ดังกล่าวส่งผลให้การสมรสตามประมวล
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1448 นั้นยังคงท�าได้เฉพาะระหว่างชายกับหญิง
อยู่ต่อไป แตกต่างจากแนวทางตีความรัฐธรรมของประเทศอื่น ๆ เช่น ในไต้หวัน
ซึ่งส่งผลให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากในสังคมถึงค�าวินิจฉัยดังกล่าว
ในส่วนท้ายของค�าวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 20/2564 ศาลรัฐธรรมนูญ
ได้พยายามชี้แนะแนวทางการแก้ปัญหาการที่คู่รักเพศเดียวกันไม่ได้รับสิทธิทางกฎหมาย
ที่เท่าเทียมกับคู่สมรสชายหญิงโดยน�าเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นโดย
การให้สิทธิตามกฎหมาย เช่น การยกร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิต พ.ศ. …. และมีการให้
ข้อเสนอแนะในการตรากฎหมาย ดังนี้
“อย่างไรก็ตาม เมื่อบริบทสังคมโลกและสังคมไทยในปัจจุบันยอมรับและ
เริ่มมีการให้สิทธิแก่บุคคลเกี่ยวกับสถานะทางเพศอย่างกว้างขวางมากขึ้น รัฐควรมี