Page 216 - kpiebook65024
P. 216

215




           ไม่ให้มีการตรวจสอบการกระท�าทางรัฐบาลมากเกินไป อันจะส่งผลกระทบต่ออ�านาจ

           ตัดสินใจขององค์กรของรัฐฝ่ายบริหาร (สุชาดา เรืองแสงทองกุล, 2560) ดังนั้น
           ศาลรัฐธรรมนูญที่ใช้อ�านาจในการวินิจฉัยปัญหาว่า ลักษณะใดที่เข้าข่ายเป็น “การกระท�า
           ทางรัฐบาล” หรือไม่นั้น ศาลรัฐธรรมนูญควรใช้อ�านาจด้วยความระมัดระวัง เพราะต้อง

           จ�ากัดการใช้อ�านาจดังกล่าวเฉพาะในการชี้ขาดในประเด็นปัญหาดังกล่าวว่าเป็น “เป็น”

           หรือ “ไม่เป็น” การกระท�าทางรัฐบาลเท่านั้น ดังนั้นศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้มีอ�านาจ
           ที่จะเข้าไปวินิจฉัยถึง “ความชอบ” หรือ “ความไม่ชอบ” ด้วยกฎหมายของ
           “การกระท�าทางรัฐบาล” (เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์, 2554) เพื่อด�ารงไว้ซึ่งความสมดุล

           และสอดคล้องกับหลักการแบ่งแยกอ�านาจและหลักการของนิติรัฐ


                  ประเด็นปัญหาตุลาการภิวัตน์ ได้มีการหยิบยกขึ้นมาถกเถียงในสังคมอีกครั้ง
           ล่าสุด อันเนื่องมาจากค�าวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 20/2564 ซึ่งเกิดมาจากการที่

           กลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศพยายามผลักดันให้เกิดการสมรสเท่าเทียมภายใต้
           ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดยใช้แนวทางการผลักดันเช่นเดียวกับแนวทางที่

           เกิดขึ้นในไต้หวัน ที่มีการยื่นค�าร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญไต้หวันว่าการห้ามเพศเดียวกัน
           สมรสตามที่ก�าหนดไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไต้หวัน เป็นการขัดต่อ

           รัฐธรรมนูญของไต้หวัน และในเดือนพฤษภาคม ค.ศ.2017 ศาลรัฐธรรมนูญของไต้หวัน
           ได้ตัดสินว่าการที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ห้ามการสมรสของคู่รักเพศเดียวกัน

           เป็นเรื่องที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญของไต้หวัน เพราะเป็นการละเมิดเสรีภาพในการสมรสของ
           ประชาชนและความเท่าเทียมกันระหว่างบุคคลทุกคนตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ

           ซึ่งศาลได้ก�าหนดระยะเวลา 2 ปี ให้การตรากฎหมายที่ให้การรับรองการสมรสระหว่าง
           คนเพศเดียวกันได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งเป็นที่มาของการตรากฎหมาย Same

           Sex Marriage Act
   211   212   213   214   215   216   217   218   219   220   221