Page 162 - kpiebook65024
P. 162
161
5) กิจกรรมอื่นอันจะยังประโยชน์ต่อการพัฒนาระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รวมทั้งการพัฒนาพรรคการเมือง
ให้เป็นสถาบันทางการเมืองของประชาชน
5. พรรคการเมืองกับการเลือกตั้ง
การปกครองในระบอบประชาธิปไตยนั้นเป็นการปกครองที่เรียกได้ว่า “อ�านาจ
เป็นของประชาชน” โดยเปิดพื้นที่ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองแบบประชาธิปไตย
ผ่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในฐานะที่เป็นตัวแทนของประชาชน และหัวใจหลักของ
การปกครองระบอบประชาธิปไตยคือ “การเลือกตั้ง” และหัวใจหลักของการเลือกตั้ง
คือ การมี “พรรคการเมือง” อีกทั้งพรรคการเมืองยังเป็นตัวกลางในการเชื่อมประสาน
ระหว่างประชาชนให้เกิดความตื่นตัวทางการเมืองและมีส่วนร่วมทางการเมืองอย่าง
รอบด้าน โดยมีบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบในการด�าเนินการทางการเมือง
กลไกในการคัดสรรผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นตัวแทนของประชาชน การรณรงค์หาเสียง
เลือกตั้งเพื่อบรรลุเป้าหมายทางการเมือง เพื่อจัดตั้งรัฐบาลเพื่อเข้ามาบริหารประเทศ
รวมทั้งต้องพร้อมกับการเป็นฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรหากแพ้การเลือกตั้ง การเลือกตั้ง
จึงมีความส�าคัญเป็นอย่างมากต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตย (พัฒนะ เรืองใจ,
2553) นอกจากนี้งานของ สมบัติ จันทรวงศ์ (2536) ได้กล่าวถึงความส�าคัญของ
การเลือกตั้งได้อย่างน่าสนใจว่า “ความส�าคัญของการเลือกตั้งมิใช่เป็นเพียงการตัดสินว่า
ใครจะได้รับการเลือกตั้งหรือเข้าด�ารงต�าแหน่งต่าง ๆ มากนัก กล่าวคือ การเลือกตั้ง
ไม่อาจเป็นเพียงการให้ความชอบธรรมแก่รูปแบบการปกครองหรือแก่ตัวผู้ปกครอง