Page 157 - kpiebook65024
P. 157
156 ประเด็นส�ำคัญที่พึงมีในรัฐธรรมนูญแห่งรำชอำณำจักรไทย
ได้พัฒนาเป็นพรรคการเมืองชื่อว่าพรรคสังคมนิยม เป็นพรรคที่เน้น
และให้ความส�าคัญแก่มวลชน (Masses)
3) พรรคแบบกึ่งมวลชนหรือแบบผสม เป็นกลุ่มที่มีการผสมผสานระหว่าง
การจัดองค์กรแบบชนชั้นและแบบมวลชน (Intermediate) มักจะ
ปรากฏอยู่ในพรรคการเมืองที่เกิดขึ้นโดยทางอ้อม (Indirect Parties)
ซึ่งพรรคการเมืองที่เกิดขึ้นโดยทางอ้อมนั้นเป็นพรรคการเมืองที่ไม่มี
การรับสมาชิกโดยตรง แต่มีสมาชิกที่เป็นองค์การ อาทิ สมาคม สหกรณ์
ชมรม ซึ่งคณะกรรมการของพรรคเหล่านี้จะประกอบด้วยผู้แทนที่มาจาก
องค์การดังกล่าว และคณะกรรมการก็จะท�าหน้าที่ในการแต่งตั้ง
ผู้สมัครรับเลือกตั้งในนามของพรรค อาทิ พรรคแรงงานอังกฤษ
(The British Labor Party)
นอกจากนี้ พรรคการเมืองโดยทั่วไปสามารถแบ่งได้เป็น 3 ระบบ (สมบัติ
ธ�ารงธัญวงศ์, 2555) ดังต่อไปนี้
1) ระบบพรรคเดียว (Single Party System) เป็นระบบที่ได้รับ
ความยินยอมให้มีพรรคการเมืองเพียงพรรคเดียวภายในประเทศ
ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นประเทศที่มีการปกครองแบบเผด็จการหรือ
อ�านาจนิยมไม่ว่าจะเป็นรูปแบบคอมมิวนิสต์ หรือฟาสซิสต์ หรือ
สมบูรณาญาสิทธิราชย์ก็ตาม ซึ่งประเทศที่มีระบบพรรคการเมือง
แบบระบบพรรคเดียว อาทิ จีน เกาหลีเหนือ ลาว เวียดนาม คิวบา
2) ระบบสองพรรค (Two Party System) เป็นระบบที่มีพรรคการเมือง
สองพรรคผลัดกันบริหารประเทศ แต่มิได้หมายความว่าในประเทศนั้น
จะมีเพียงสองพรรคการเมืองเท่านั้น ยังคงมีพรรคการเมืองอื่นอีกมาก
เพียงแต่พรรคการเมืองอื่นไม่ได้รับความนิยมจากประชาชน ซึ่งประเทศ