Page 158 - kpiebook65024
P. 158

157




                         ที่มีระบบพรรคการเมืองแบบระบบสองพรรคนั้น อาทิ สหรัฐอเมริกา

                         สหราชอาณาจักร สเปน โปรตุเกส โคลัมโบ คอสตาริก้า ออสเตรเลีย
                         และนิวซีแลนด์ เป็นต้น
                     3)   ระบบหล�ยพรรค (Multi-Party System) เป็นระบบที่ยอมให้มี

                         พรรคการเมืองหลายพรรคในประเทศเพื่อการแข่งขันกันทางการเมือง

                         ระหว่างพรรคต่าง ๆ และพรรคการเมืองที่ได้รับความนิยมจากประชาชน
                         ใกล้กันมีมากกว่าสองพรรค และพรรคที่มีโอกาสจัดตั้งรัฐบาลมีมากกว่า
                         สองพรรค





           4. ความส�าคัญและจุดมุ่งหมายของพรรคการเมือง



                  วิทยา นภาศิริกุล และสุรพล ราชภัณฑารักษ์ (2539 อ้างใน มะลิ ทิพพ์ประจง,
           พระสมุห์อาคม อาคมธีโร และกัญจิรา วิจิตรวัชรารักษ์, 2563) ได้อธิบายว่า

           พรรคการเมืองมีความส�าคัญในการปกครองระบอบประชาธิปไตย โดยพรรคการเมือง

           มีลักษณะเป็นสถาบันทางการเมืองเกิดจากการรวมกลุ่มหรือคณะบุคคลหรือสมาคม
           ที่มีความคิดเห็นสอดคล้องกันและมีผลประโยชน์พื้นฐานร่วมกัน ปรารถนารวมตัวกัน
           เพื่อแสวงหาอ�านาจในการปกครองประเทศ ความส�าคัญของพรรคการเมืองจึงต้อง

           มีความเชื่อมโยงกับจุดมุ่งหมายของพรรคการเมืองเพื่อความผาสุกของประชาชน

           ในระบอบประชาธิปไตย ดังนี้

                     1)   พรรคการเมืองมีความส�าคัญในการให้ความรู้ทางการเมืองแก่ประชาชน

                         โดยพรรคการเมืองย่อมมีอุดมการณ์ หลักการและวิธีการในการแก้ไข
                         ปัญหาและตอบสนองความต้องการของประชาชน
   153   154   155   156   157   158   159   160   161   162   163