Page 163 - kpiebook65024
P. 163

162   ประเด็นส�ำคัญที่พึงมีในรัฐธรรมนูญแห่งรำชอำณำจักรไทย




        การเลือกตั้งไม่ได้เป็นแค่กระบวนการที่ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมในทางการเมือง

        หรือการควบคุมให้ตัวแทนของประชาชนต้องขึ้นอยู่กับประชาชนหรือเป็นการสืบทอด
        อ�านาจของผู้มีต�าแหน่งทางการเมืองโดยสันติวิธีเท่านั้น หากแต่การเลือกตั้งยังเป็น
        การสื่อสารติดต่อกันระหว่างผู้ปกครองและผู้อยู่ใต้ปกครอง”


               การเลือกตั้งถือได้ว่าเป็นประเด็นและเป็นเงื่อนไขที่ส�าคัญอย่างยิ่งของ

        การปกครองในระบอบประชาธิปไตย เนื่องจากการเลือกตั้งนั้นเป็นการแสดงออก
        ซึ่งแสดงถึงเจตนารมณ์ของประชาชนที่มอบความไว้วางใจและอ�านาจให้กับตัวแทน

        โดยผ่านระบบพรรคการเมือง โดยการออกเสียงเลือกตั้งนั้นเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์
        โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมประชาธิปไตย ซึ่งจะเห็นได้อย่างชัดเจนจากบทบัญญัติ

        ข้อที่ 21(1) แห่งปฎิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษย์ชน (Universal Declaration of
        Human Rights) คือ “ทุกคนมีสิทธิที่จะมีส่วนร่วมในการปกครองประเทศตนโดยตรง

        หรือผ่านผู้แทนซึ่งได้รับเลือกตั้งโดยอิสระ” บทบัญญัติดังกล่าวได้วางหลักการส�าคัญ
        คือ เจตจ�านงของประชาชนย่อมเป็นมูลฐานแห่งอ�านาจของรัฐบาลผู้ปกครองเจตจ�านง

        ดังกล่าวต้องแสดงออกโดยการเลือกตั้งที่สุจริต (วิทยา ขินบุตร, 2559) โดยระบบ
        การเลือกตั้งนั้นสามารถพิจารณาความหมายได้ทั้งอย่างกว้างและอย่างแคบ (พรรณชฎา

        ศิริวรรณบุศย์, 2558) ดังนี้

                  1)   ระบบก�รเลือกตั้งในคว�มหม�ยอย่�งกว้�ง คือ เป็นการก�าหนด

                      ที่มาของตัวแทนหรือผู้แทนอันประกอบด้วย การก�าหนดคุณสมบัติ
                      ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งและคุณสมบัติของผู้สมัครรับเลือกตั้ง การก�าหนด

                      จ�านวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในแต่ละเขตเลือกตั้งและการก�าหนด
                      เขตเลือกตั้ง รวมถึงการลงคะแนนและการคิดคะแนนเสียงเลือกตั้ง
   158   159   160   161   162   163   164   165   166   167   168