Page 9 - kpiebook65021
P. 9

โครงการการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางด้านสิทธิและการมีส่วนร่วมแก่ประชาชน:  กรณีศึกษาการพัฒนานโยบายจากภาคประชาชน จังหวัดจันทบุรี





                     5) อนาคตจังหวัดจันทบุรีที่ต้องการจะเห็นในอีกยี่สิบปีข้างหน้า ภาพรวมจังหวัดและอ าเภอส่วนใหญ่
              อยากเห็นสาธารณูปโภคและการประกอบอาชีพที่ดีขึ้น ขณะที่อ าเภอท่าใหม่อยากเห็นว่าอีกยี่สิบปีข้างหน้า

              ประชาชนมีคุณภาพชีวิตดีประชาชนพึ่งพาตนเองได้และไม่มีอาชญากรรม ส่วนอ าเภอสอยดาวอยากเห็น
              เศรษฐกิจดี ชุมชนไม่เดือดร้อน และไม่มีหนี้สิน

                     6) สิ่งที่ห่วงกังวลมากที่สุด: ในภาพรวมจังหวัดมีความกังวลต่อการท างานของหน่วยงานในพื้นที่ที่ยัง

              ขาดการบูรณาการ เมื่อพิจารณาในรายอ าเภอมีความกังวลหลากหลาย เช่น ด าเนินงานของหน่วยงานในพื้นที่
              ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ก าลังเสื่อมโทรม ราคาผลไม้ตกต่ า ภัยธรรมชาติและภัยพิบัติอื่น ฯลฯ

              ส่วนภาคประชาสังคมกังวลเรื่องความสัมพันธ์ของคนในพื้นที่ ภาคธุรกิจกังวลเรื่องเศรษฐกิจ ขณะที่คนรุ่นใหม่
              และกลุ่มอื่น ๆ กังวลเรื่องผู้น า


                     7) สิ่งที่สามารถท าได้เพื่อส่วนรวม ในภาพรวมของจังหวัดค าตอบส่วนใหญ่เห็นว่าตนสามารถเข้าไป
              มีส่วนร่วมในกิจกรรมชุมชนโดยเข้าร่วมแสดงความคิดเห็นและร่วมผลักดันงบประมาณ

                     ส าหรับข้อเสนอแนะจากผู้วิจัย ได้แก่


                     1) ภาครัฐส่วนภูมิภาคอย่างส านักงานจังหวัด ควรส่งเสริมองค์กรภาควิชาการหรือองค์กรภาคประชา
              สังคม ให้มีบทบาทในการร่วมผลักดันกระบวนการพัฒนานโยบายสาธารณะในรูปแบบล่างขึ้นบนมากขึ้นควบคู่

              ไปกับกลไกแบบบนลงล่างที่มีอยู่ เพื่อช่วยให้ภาคประชาชนได้มีช่องทางเข้าถึงกระบวนการพัฒนานโยบาย
              สาธารณะ


                     2) ภาครัฐส่วนท้องถิ่น ได้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนต าบล ควรใช้
              พื้นที่ประชาคมของหน่วยงานเน้นการฝึกวัฒนธรรมประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือให้มากขึ้น เช่น การเปิด

              พื้นที่ให้มีกระบวนการพัฒนาข้อเสนอจากภาคประชาชนภายใต้กระบวนการปรึกษาหารือหรือกระบวนการมี
              ส่วนร่วมอย่างสม่ าเสมอ ซึ่งจะช่วยฝึกการแสดงออกและความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย


                     3) หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ส านักงานจังหวัดและองค์การบริหารส่วนจังหวัดควรพิจารณาข้อเสนอ
              และความต้องการของภาคประชาชนแบบบูรณาการแต่มีรายละเอียดที่จ าแนกตามพื้นที่ กลุ่มอาชีพและกลุ่ม
              ทางสังคม เพื่อน าไปค้นหาความต้องการและวิเคราะห์ในเชิงลึก แล้วพัฒนาเป็นข้อเสนอทิศทางการพัฒนา

              ระหว่างหน่วยงานภาครัฐที่รับผิดชอบและประชาชน เพราะการพัฒนาแต่ละอ าเภอและต าบลจุดเน้นของการ
              พัฒนาอาจมีความแตกต่างกัน ยกตัวอย่างเช่น การเน้นยุทธศาสตร์การพัฒนาเรื่องการประกอบอาชีพในอ าเภอ

              ท่าใหม่  อ าเภอแก่งหางแมว และอ าเภอคิชฌกูฏเป็นความส าคัญล าดับแรก หรือเน้นยุทธศาสตร์การดูแลเรื่อง
              ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในอ าเภอขลุง และอ าเภอแหลมสิงห์เป็นล าดับแรก เพื่อให้สอดคล้องกับ
              ความต้องการพัฒนาและข้อห่วงกังวลของประชาชนในพื้นที่นั้น เป็นต้น














                                                          viii
   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14