Page 8 - kpiebook65021
P. 8

โครงการการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางด้านสิทธิและการมีส่วนร่วมแก่ประชาชน:  กรณีศึกษาการพัฒนานโยบายจากภาคประชาชน จังหวัดจันทบุรี





                                                       บทสรุปผู้บริหาร


                        งานวิจัยนี้มีเป้าหมายพัฒนาตัวแบบเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านสิทธิและการมีส่วนร่วมของ

                 ประชาชนในการพัฒนานโยบายสาธารณะ โดยใช้แบบสัมภาษณ์ปลายเปิดเพื่อค้นหาความต้องการพัฒนาจาก
                 ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในจังหวัดจันทบุรี จ านวน 760 คน วิเคราะห์ผลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ความถี่

                 ร้อยละ และส่งแบบสอบถามเพื่อวัดระดับการรับรู้ ความคิดเห็นและการแสดงออกด้านสิทธิและการมีส่วนร่วม
                 ในการพัฒนานโยบายสาธารณะในกลุ่มดังกล่าว ได้รับการตอบกลับ 23 ชุด วิเคราะห์ผลด้วยร้อยละและ

                 ค่าเฉลี่ย ผลการศึกษาพบว่า ตัวแบบที่พัฒนาขึ้นอันประกอบด้วยกระบวนการสร้างความเข้าใจ และ
                 กระบวนการรวบรวมความต้องการ ทั้งสองกระบวนการด าเนินการโดยมีเงื่อนไขความส าเร็จที่ส าคัญ ได้แก่

                 มุมมองที่ส่งเสริมต่อการมีส่วนร่วมและการสนับสนุนจากองค์กรภาครัฐและภาควิชาการ อย่างไรก็ดี ตัวแบบนี้
                 ควรมีการด าเนินการต่อในกระบวนการพัฒนาข้อเสนอทิศทางเมื่อสถานการณ์โรคระบาดโควิด 19 คลี่คลายลง
                 เพื่อพิสูจน์ต่อไปว่ากระบวนการพัฒนานโยบายสาธารณะนี้ได้ท าให้เกิดความเข้มแข็งของกลุ่มเป้าหมายเพิ่มขึ้น

                 หรือไม่อย่างไร และยังเป็นการน าตัวแบบที่ค้นพบไปขยายผลต่ออีกด้วย

                        ผลจากการรวบรวมความคิดเห็นจากแบบสัมภาษณ์ ข้อค้นพบล าดับแรกใน 7 ประเด็น ได้แก่


                        1) สภาพพื้นที่ของจังหวัดจันทบุรีในอดีต: ภาพรวมของจังหวัดส่วนใหญ่มองเห็นเรื่องระบบ
                 สาธารณูปโภคและโครงสร้างพื้นฐานที่ยังไม่มีความสะดวก ยกเว้นอ าเภอโป่งน้ าร้อนที่ส่วนใหญ่เห็นภาพอดีตใน

                 ประเด็นทรัพยากรที่มีแหล่งป่าไม้ อากาศบริสุทธิ์ น้ าพุร้อนธรรมชาติ และแหล่งน้ าเกษตรเพียงพอ กับอ าเภอ
                 นายายอามที่ส่วนใหญ่เห็นประเด็นการท่องเที่ยวและสถานที่ส าคัญว่ามีความสวยงามแต่ยังไม่เป็นที่รู้จัก


                        2) ความภาคภูมิใจในจังหวัดจันทบุรี: ภาพรวมจังหวัดและอ าเภอส่วนใหญ่ภูมิใจระบบสาธารณูปโภค
                 และโครงสร้างพื้นฐานที่ดีขึ้น กับประเด็นเรื่องการประกอบอาชีพ ที่คนจันทบุรีภูมิใจกับการประกอบอาชีพ

                 เกษตรและรู้สึกว่ามีอาชีพที่มั่นคง เมื่อจ าแนกตามกลุ่มอาชีพและกลุ่มทางสังคมส่วนใหญ่ภูมิใจกับประเด็น
                 สาธารณูปโภคและการประกอบอาชีพเช่นกัน

                        3) อนาคตจังหวัดจันทบุรีที่ต้องการจะเห็นในอีกห้าปีข้างหน้า: ภาพรวมจังหวัดและอ าเภอส่วนใหญ่

                 อยากเห็นสาธารณูปโภคและการประกอบอาชีพที่ดีขึ้น ยกเว้นอ าเภอแหลมสิงห์ที่อนาคตอีกห้าปีข้างหน้า
                 ส่วนใหญ่อยากเห็นทรัพยากรที่ไม่ถูกท าลาย ป่าชายเลนมีความสมบูรณ์ เมื่อจ าแนกตามกลุ่มอาชีพและ

                 กลุ่มทางสังคมส่วนใหญ่อยากเห็นการพัฒนาสาธารณูปโภคและการประกอบอาชีพเช่นกัน

                        4) อนาคตจังหวัดจันทบุรีที่ต้องการจะเห็นในอีกสิบปีข้างหน้า: ภาพรวมจังหวัดและอ าเภอส่วนใหญ่
                 อยากเห็นสาธารณูปโภคและการประกอบอาชีพที่ดีขึ้นเช่นเดียวกัน ขณะที่อ าเภอนายายอามส่วนใหญ่

                 อยากเห็นทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ปลอดขยะและไร้มลพิษ เมื่อจ าแนกตามกลุ่มอาชีพและกลุ่ม
                 ทางสังคมส่วนใหญ่อีกสิบปีข้างหน้าอยากเห็นการพัฒนาสาธารณูปโภคและการประกอบอาชีพเช่นกัน









                                                             vii
   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13