Page 39 - kpiebook65017
P. 39
38 ประเด็นส�ำคัญที่พึงมีและควรแก้ไขตำมรัฐธรรมนูญแห่งรำชอำณำจักรไทย พุทธศักรำช 2560 :
การคลังสาธารณะ
บทบัญญัติดังกล่าวเป็นการก�าหนดกระบวนการนิติบัญญัติทางงบประมาณ
ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงหลักอ�านาจในการอนุมัติงบประมาณเป็นอ�านาจของรัฐสภาเอาไว้
โดยแบ่งขั้นตอนการอนุมัติงบประมาณ ออกเป็นสองขั้นตอน ได้แก่
(1) ขั้นตอนในชั้นสภาผู้แทนราษฎร จะพิจารณาร่างกฎหมายดังกล่าว
ใน 3 วาระ ได้แก่ วาระที่ 1 วาระรับหลักการ เป็นการพิจารณาว่าจะรับหลักการหรือ
ไม่รับหลักการของร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจ�าปีที่คณะรัฐมนตรี
เสนอต่อสภาผู้แทนราษฎร วาระที่ 2 วาระการพิจารณา เมื่อรับหลักการแล้วจะมี
การตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่าย
ประจ�าปีในรายละเอียด จากนั้นจะเป็นการประชุมสภาผู้แทนราษฎรเพื่อพิจารณา
ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจ�าปีที่คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา
เสร็จแล้วเป็นรายมาตรา วาระที่ 3 วาระการลงมติ เป็นการลงมติว่าเห็นชอบ
หรือไม่เห็นชอบกับร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจ�าปีโดยไม่มี
การอภิปราย หากสภาผู้แทนราษฎรไม่เห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว
ร่างพระราชบัญญัตินั้นเป็นอันตกไป แต่หากเห็นชอบด้วย ก็จะเสนอร่างพระราชบัญญัติ
งบประมาณรายจ่ายประจ�าปีต่อวุฒิสภาต่อไป
(2) ขั้นตอนในชั้นวุฒิสภา จะมีการพิจารณาที่แตกต่างจากการพิจารณา
ร่างพระราชบัญญัติโดยทั่วไปซึ่งจะไม่มีการพิจารณาเป็นสามวาระ เมื่อวุฒิสภาได้รับ
ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจ�าปีจากสภาผู้แทนราษฎร จะต้องส่ง
ร่างพระราชบัญญัติไปยังคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาศึกษาร่างพระราชบัญญัติ
งบประมาณรายจ่ายประจ�าปีงบประมาณของวุฒิสภาเป็นการด่วน จากนั้นจะเป็น
การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายงบประมาณของ
วุฒิสภานี้ โดยจะไม่มีการแปรญัตติแก้ไขเพิ่มเติมใด ๆ เมื่อร่างพระราชบัญญัติได้รับ
35
35 ข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา 2562 ข้อ 139.