Page 42 - kpiebook65017
P. 42

41



                      เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใดจัดท�าโครงการหรืออนุมัติหรือจัดสรรเงินงบประมาณ
           โดยรู้ว่ามีการด�าเนินการอันเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง

           ถ้าได้บันทึกข้อโต้แย้งไว้เป็นหนังสือหรือมีหนังสือแจ้งให้คณะกรรมการป้องกันและ
           ปราบปรามการทุจริตแห่งชาติทราบ ให้พ้นจากความรับผิด


                      การเรียกเงินคืนตามวรรคสามหรือวรรคสี่ ให้กระท�าได้ภายในยี่สิบปี
           นับแต่วันที่มีการจัดสรรงบประมาณนั้น


                      ในกรณีที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติได้รับ

           แจ้งตามวรรคสี่ ให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติด�าเนินการ
           สอบสวนเป็นทางลับโดยพลัน หากเห็นว่ากรณีมีมูล ให้เสนอความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญ
           เพื่อด�าเนินการต่อไปตามวรรคสาม และไม่ว่ากรณีจะเป็นประการใด คณะกรรมการ

           ป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติและศาลรัฐธรรมนูญ หรือบุคคลใดจะ

           เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับผู้แจ้งมิได้”

                  บทบัญญัติข้างต้นแสดงให้เห็นถึงข้อห้ามที่ส�าคัญในการอนุมัติงบประมาณ

           ในสองเรื่องด้วยกัน ได้แก่ เรื่องแรกเป็นข้อห้ามในการเพิ่มรายจ่ายและตัดรายจ่ายตาม
           ข้อผูกพัน กล่าวคือ ในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยงบประมาณรายจ่าย
           สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่มีอ�านาจแปรญัตติเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขเพิ่มเติมรายการ

           หรือจ�านวนในรายการที่ระบุไว้ในกฎหมายงบประมาณ แต่อาจแปรญัตติในทางลด

           หรือตัดทอนรายจ่ายซึ่งมิใช่รายจ่ายตามข้อผูกพันได้ เพื่อป้องกันไม่ให้เป็นการเพิ่ม
           ภาระทางการคลังและไม่ให้รัฐสภาใช้อ�านาจในการริเริ่มก�าหนดรายจ่ายแผ่นดินขึ้นเอง
   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47