Page 79 - kpiebook65015
P. 79
78 ประเด็นส�ำคัญที่พึงมีและควรแก้ไขตำมรัฐธรรมนูญแห่งรำชอำณำจักรไทย พุทธศักรำช 2560 :
การได้มาซึ่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แต่การที่ พ.ร.ป. เลือกตั้ง มาตรา 128 (2) ไปเติมค�าว่า “เบื้องต้น” ต่อท้าย
“จ�านวนที่ได้รับให้ถือเป็นจ�านวน ส.ส. ที่พรรคการเมืองนั้นจะพึงมีได้” และมาตรา
128 (3) ที่ไปเติมค�าว่า “เบื้องต้น” ต่อท้าย “ผลลัพธ์คือจ�านวน ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ
ที่พรรคนั้นจะได้รับ” ซึ่งท�าให้จ�านวน ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อของแต่ละพรรคแตกต่างไป
ในภายหลังได้ ตรงนี้จึงมีปัญหาเรื่องความชอบด้วยรัฐธรรมนูญดังที่ได้กล่าว และดังนั้น
สูตรการค�านวณ ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อของ กกต. จึงไม่น่าจะถูกต้อง เพราะพรรคที่
ได้คะแนนน้อยกว่า 71,123 คะแนน จะได้ ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อเฉพาะในกรณีที่จัด
ให้พรรคที่ได้คะแนนเกิน 71,123 คะแนนเป็น “จ�านวนเต็ม” แล้วมีที่นั่งเหลือเท่านั้น
จึงจะมาจัดสรรตามล�าดับจากเศษที่มากที่สุด ซึ่งตามข้อเท็จจริงเมื่อจัดให้พรรคที่ได้
คะแนนเกิน 71,123 เป็นจ�านวนเต็มก่อน ตัวเลขเท่ากับ 153 ซึ่งเกิน 150 ที่นั่งไปแล้ว
จึงไม่มี ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อเหลือมาจัดสรรให้พรรคที่ได้คะแนนไม่ถึง 71,123 ได้
อย่างไรก็ตามศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า พรป.เลือกตั้ง ส.ส. มาตรา 128
ไม่ขัดรัฐธรรมนูญ โดยให้เหตุผลว่า “แม้บทบัญญัติพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
59
ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 มาตรา 128 มีการบัญญัติ
รายละเอียดเพิ่มเติมจากบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ มาตรา 91 แต่ก็เป็นเพียงการก�าหนด
รายละเอียดหลักเกณฑ์และวิธีการค�านวณ และการคิดอัตราส่วนเพื่อให้ได้สมาชิก
สภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อให้ครบจ�านวนตามที่รัฐธรรมนูญก�าหนด โดยก�าหนด
วิธีการคิดค�านวณในกรณีที่ไม่สามารถจัดสรรให้ครบหนึ่งร้อยห้าสิบคนดังปรากฏ
รายละเอียดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิก
สภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 มาตรา 128 วรรคหนึ่ง (2) (3) (4) (5) (6) และ (7)
ซึ่งเป็นไปตามหลักการและเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ มาตรา 91 วรรคหนึ่งและ
วรรคสาม แล้ว ดังนั้น พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง
59 ค�าวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 6/2562, 8 พฤษภาคม 2562