Page 77 - kpiebook65015
P. 77

76   ประเด็นส�ำคัญที่พึงมีและควรแก้ไขตำมรัฐธรรมนูญแห่งรำชอำณำจักรไทย พุทธศักรำช 2560 :
          การได้มาซึ่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร


         และที่ว่าตาม “อัตราส่วน” คือให้ปรับตามอัตราส่วนคะแนนให้กับพรรคที่ได้ ส.ส.
         แบบแบ่งเขตน้อยกว่าจ�านวน ส.ส.พึงมีได้นั่นเอง และดังนั้น ที่มาตรา 128 (4)

         ใช้ค�าว่า “ภายใต้ (5)” จึงมีความหมายดังที่ได้กล่าวไปข้างต้นเท่านั้น ไม่ได้หมายถึง
         การน�าเอาจ�านวน ส.ส.บัญชีรายชื่อ “เบื้องต้น” มาปรับให้เป็น 150 คนก่อน

         แต่ประการใด

                 ผู้วิจัยจึงเห็นว่า ต้องค�านวณตามมาตรา 128 (4) คือ ต้องจัดสรรให้

         พรรคการเมือง “เป็นจ�านวนเต็มก่อน” หากไม่ครบจ�านวน 150 คน ก็จะต้อง
         “ให้พรรคการเมืองที่มีเศษจากการค�านวณมากที่สุดได้รับการจัดสรรจ�านวน

         สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อเพิ่มอีกหนึ่งคนตามล�าดับจนครบจ�านวน
         หนึ่งร้อยห้าสิบคน” โดยข้อเท็จจริงจากการค�านวณของ กกต. ได้ ส.ส.แบบ

         บัญชีรายชื่อ “เบื้องต้น” จ�านวน 175.1921 คน (ตาราง 9 แนวตั้ง (4)) และถ้าจัดสรร
         ให้จ�านวนเต็มก่อนตาม 128 (4) จะมีจ�านวน ส.ส.บัญชีรายชื่อ 153 คน (ดูตาราง 9

         แนวตั้ง (5)) ซึ่งเกิน 150 คนไปแล้ว จึงไม่มีจ�านวน ส.ส.เหลือมาจัดสรรให้พรรค
         ที่ได้คะแนนไม่ถึง 71,123 คะแนน ได้อีก ว่าง่าย ๆ คือมีจ�านวนเต็มเกิน 150 คน

         แล้ว จึงไม่มี ส.ส.เหลือมา “ปัดเศษ” ให้พรรคที่ได้ไม่ถึงคะแนนเฉลี่ยต่อ ส.ส.หนึ่งคน
         ได้อย่างที่ กกต. ค�านวณ


                 อย่างไรก็ตาม เมื่อเกิดปัญหาในการใช้ พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญ ก็ต้อง
         กลับไปดูรัฐธรรมนูญ ซึ่งมาตรา 91 (4) ก�าหนดว่า “ต้องไม่มีผลให้พรรคการเมืองใด

         ดังกล่าวมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเกินจ�านวนที่จะพึงมีได้ตาม (2)” (ซึ่ง พ.ร.ป.

         เลือกตั้ง น�ามาบัญญัติไว้เป็นมาตรา 128 (5)) ประเด็นที่น่าจะต้องพิจารณาคือ
         การที่ กกต. จัดสรรให้พรรคที่ได้ ส.ส. พึงมีไม่ถึงหนึ่งคน เช่น ได้แค่ 0.4 คน
         แต่ได้ ส.ส. หนึ่งคน ทั้ง ๆ ที่ไม่มี ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อเหลือ จะถือว่าพรรคนั้นได้

         ส.ส. เกินกว่า ส.ส. พึงมีหรือไม่?
   72   73   74   75   76   77   78   79   80   81   82