Page 78 - kpiebook65015
P. 78

77



                  ในทางกลับกัน พรรคที่มีคะแนนมากกว่า 71,123 คะแนน ซึ่งตามหลักแล้ว
           จะต้องได้ ส.ส. หนึ่งคนทุก ๆ 71,123 คะแนน กลับไม่ได้ ส.ส. หนึ่งคนทุก ๆ 71,123

           คะแนน ทั้ง ๆ ที่รัฐธรรมนูญ มาตรา 91 (2) “ให้ถือเป็นจ�านวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
           ที่พรรคการเมืองนั้นจะพึงมีได้” และมาตรา 91 (3) “ผลลัพธ์คือจ�านวนสมาชิก

           สภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองนั้นจะได้รับ” แต่กลับได้รับน้อยกว่า
           จ�านวนนั้น จะถือว่าขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 91 (3) หรือไม่?


                  ปัญหาส�าคัญอาจจะอยู่ตรงที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย
           การเลือกตั้ง ส.ส. มาตรา 128 (4) ไปเติมค�าว่า “เบื้องต้น” ต่อท้าย แต่รัฐธรรมนูญ

           มาตรา 91 (2) และ (3) ไม่มีค�าว่า “เบื้องต้น” นั่นหมายถึงว่าผลลัพธ์ตามมาตรา 91 (3)
           คือจ�านวน ส.ส. บัญชีรายชื่อแล้ว อย่างน้อยที่สุดก็คือตามจ�านวนเต็ม การไปค�านวณ

           ในแบบที่ท�าให้พรรคการเมืองได้ ส.ส. น้อยกว่าตามที่รัฐธรรมนูญมาตรา 91 (3) ก�าหนด
           และมีพรรคการเมืองได้ ส.ส. มากกว่าจ�านวน “ส.ส. พึงมีได้” ตามที่รัฐธรรมนูญ

           มาตรา 91 (4) ก�าหนด ย่อมมีปัญหาเรื่องความไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ

                  ส�าหรับ พ.ร.ป. เลือกตั้ง มาตรา 128 (6) และ (7) ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ไม่มี

           ในรัฐธรรมนูญมาตรา 91 ผู้วิจัยเห็นว่าไม่น่าจะมีปัญหาอะไร เนื่องจากเป็นการก�าหนด

           ขั้นตอนต่อไปหลังจากที่ได้จ�านวน ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อของแต่ละพรรค ซึ่งก็มี
           สองกรณีคือ ไม่ถึง 150 คน กับ เกิน 150 คนดังที่ได้กล่าวไปแล้ว เช่นเดียวกับ
           พ.ร.ป. เลือกตั้ง มาตรา 128 (8) ซึ่งเป็นวงเล็บสุดท้าย ที่ให้ “ผู้สมัครตามล�าดับ

           หมายเลขในบัญชีรายชื่อ” ของแต่ละพรรคการเมือง “เป็นผู้ได้รับเลือกตั้งเป็น

           สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร” ก็บัญญัติไว้เหมือนกันกับรัฐธรรมนูญมาตรา 91 (5)
           ซึ่งก็เป็นวงเล็บสุดท้าย จึงไม่มีปัญหาเช่นเดียวกัน
   73   74   75   76   77   78   79   80   81   82   83