Page 85 - kpiebook65011
P. 85
ก่อนจะถึงการเลือกตั้ง
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2565
(2) การบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ของ
กรุงเทพมหานคร
นับตั้งแต่มีสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ในมหานคร
กรุงเทพ กรุงเทพมหานครได้ใช้โครงสร้างในการรับมือกับสถานการณ์
ดังกล่าวโดยแบ่งออกเป็นสองช่วงใหญ่
ช่วงที่หนึ่ง นับตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม 2563 เป็นการใช้
โครงสร้างของคณะกรรมการโรคติดต่อระดับจังหวัดตามพระราชบัญญัติ
โรคติดต่อและพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน
โดยผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครทำหน้าที่เช่นเดียวกับผู้ว่าราชการจังหวัด
และมีโครงสร้างอย่างเดียวกันกับการบริหารราชการส่วนภูมิภาคในระดับ
จังหวัด ทั้งนี้คณะกรรมการดังกล่าวทำหน้าที่ในการพิจารณาบังคับใช้
20
ข้อกำหนดตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน
ในเรื่องของการพิจารณาประกาศปิดสถานที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคเป็น
การชั่วคราว และกำหนดมาตรการเฝ้าระวังและควบคุมการแพร่ระบาด
ของโรค ซึ่งจนถึงวันนี้มีประกาศเรื่องสั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราวออกมา
50 ฉบับ อย่างไรก็ดี อำนาจดังกล่าวของกรุงเทพมหานครมักจะถูกสั่งให้มี
การเปลี่ยนแปลง โดยศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) ในระดับ
ประเทศ อาทิ ในกรณีที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพสั่งผ่อนปรนให้สามารถเปิด
20 คณะกรรมการโรคติดต่อในพื้นที่กรุงเทพมหานครตามพระราชบัญญัติ
โรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ได้แก่ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ปลัดกรุงเทพมหานคร
ผู้อำนวยการสำนักแพทย์ รองผู้อำนวยการสำนักแพทย์ ผู้อำนวยการสำนักอนามัย
รองผู้อำนวยการสำนักอนามัย ผู้อำนวยการกองควบคุมโรคติดต่อ หัวหน้างานกลุ่มระบาด
วิทยา ผู้อำนวยการควบคุมโรคเอดส์ ผู้อำนวยการกองสุขาภิบาล ผู้อำนวยการสำนักงาน
สุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม ผู้อำนวยการสำนักงานสัตวแพทย์สาธารณสุข ผู้อำนวยการ
ศูนย์บริการสาธารณสุข ผู้อำนวยการโรงพยาบาลในสังกัดกรุงเทพฯ หัวหน้าฝ่าย
สิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล
สถาบันพระปกเกล้า
สถาบันพระปกเกล้า
77