Page 80 - kpiebook65011
P. 80
ก่อนจะถึงการเลือกตั้ง
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2565
4.2.5 กรุงเทพมหานครกับความท้าทายเรื่องความเหลื่อมล้ำ คนจน
เมือง และที่อยู่อาศัย
“ความยากจน(จากความเป็น)เมือง” (Poverty from Urbanity)
หมายถึงการ/กระบวนการที่พรากเอาความมั่งคั่งและส่วนแบ่งต่าง ๆ
ที่ พวกเขาพึงได้จากการรวมสร้างความมั่งคั่งของเมือง และสิ่งนี้ไม่ได้
เกิดจากแค่ระบบเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ยังหมายถึงระบบสังคมวัฒนธรรม
และระบบโครงสร้างทางความรู้ กฎหมาย โครงการ นโยบาย และปฏิบัติ
การทางการเมืองอีกหลายประการที่ทำให้ความยากจนและคนจน
ในเมืองนั้นทั้งถูกขูดรีดและถูกพรากสิทธิ์ที่จะมีอำนาจกำหนดชีวิตและ
ความเปลี่ยนแปลงของเมือง (The Rights to the City) (พิชญ์
พงษ์สวัสดิ์, 2564, น. 9-10) ความจนจึงมีหลายมิติและค่อนข้างซับซ้อน
ความจนไม่ได้หมายถึงเพียงการอยู่อาศัยในสภาพแวดล้อมที่ไม่ดี บ้านที่
ทรุดโทรม หรือมีความเป็นอยู่ที่ย่ำแย่ ในทางกลับกัน บางคนมีบ้าน
มีครอบครัว แต่ไม่มีรายได้ อาชีพ มีหนี้สิน เหล่านี้ถือเป็นความยากจน
เช่นกัน ด้วยเหตุนี้การเป็นคนจนเมืองจึงสามารถพิจารณาได้หลายมิติ
ได้แก่ รายได้ บริเวณพื้นที่กายภาพที่พวกเขาอยู่ หรือความหนาแน่น
ตำแหน่งแห่งที่ของคนจนในระบบเศรษฐกิจ คนไร้บ้าน หรือคนเร่ร่อน
กลุ่มผู้ด้อยโอกาส รวมไปถึงคนจนที่หลุดจากระบบการดูแลของรัฐ องค์กร
พัฒนา และการรวมตัวของคนจนเอง (พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์, 2564)
เป็นการยากที่จะคาดการณ์จำนวนของคนจนเมืองที่อยู่ในมหานคร
กรุงเทพ เพราะความยากจนเมืองอาจอยู่ในสภาวะชั่วคราว หรืออยู่ใน
สภาวะที่ยาวนานและวนเวียนอยู่ในสภาวะนั้น อย่างไรก็ดีหนึ่งใน
วิธีทำความเข้าใจเรื่องของความยากจนเมืองและคนจนเมืองก็คือเรื่องของ
การกระจุกตัวของความยากจนในพื้นที่ ออกมาในรูปของชุมชนแออัด ทั้งนี้
ต้องเข้าใจว่ายังมีคนจนเมืองที่อยู่นอกชุมชนแออัด เช่น บ้านเช่า หรือ
72 สถาบันพระปกเกล้า
สถาบันพระปกเกล้า