Page 89 - kpiebook65011
P. 89

ก่อนจะถึงการเลือกตั้ง
                         ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2565


             ในทางเศรษฐกิจ 22

                     ขณะที่การแพร่ระบาดในระลอกที่สองนั้น กรุงเทพมหานครไม่ได้
             มีมาตรการที่ชัดเจนมากนัก เว้นแต่เรื่องของการปิดสถานที่ที่ยังทำเป็น
             ระยะ แต่เริ่มมีการเน้นการตรวจ ปิด และทำความสะอาดตลาดมากขึ้น

             เพราะจุดเสี่ยงในรอบสองนั้นมาจากพื้นที่ตลาดเป็นหลัก
                     ในการระบาดในระลอกที่สามซึ่งมีความรุนแรงจะพบว่าชุมชน

             แออัดทั้งในระบบ คนที่เปราะบางด้อยโอกาส และคนจนเมืองหลุดระบบ
                                                                         23
             รวมทั้งแรงงานในแคมป์คนงาน ซึ่งมีส่วนของแรงงานต่างด้าวเหล่านั้น


                    22  ผลการศึกษาในโครงการวิจัยคนจนเมืองที่เปลี่ยนไปในสังคมเมืองที่กำลัง
             เปลี่ยนแปลง พบว่า ด้านความตระหนักในการดูแลสุขภาพ คนจนเมืองเกือบ
             90 เปอร์เซ็นต์ มีหน้ากากอนามัยสวมเกือบทุกครั้งเวลาออกจากบ้าน นอกจากนี้กว่า
             44 เปอร์เซ็นต์ ยังพกเจลแอลกอฮอล์ล้างมือเมื่อออกจากบ้าน อีกประการหนึ่งคือคนจน
             เมืองกว่า 43 เปอร์เซ็นต์ ระบุว่า ไม่มีพื้นที่ในบ้านกักตัวเพียงพอ หากมีสมาชิกใน
             ครัวเรือนมีความเสี่ยงติดเชื้อโควิด-19 ด้านผลกระทบด้านเศรษฐกิจ ทำให้คนจนเมือง
             ไม่สามารถประกอบอาชีพและหารายได้ตามปกติ กล่าวคือ เปอร์เซ็นต์เฉลี่ยที่ใกล้เคียงกัน
             ระบุว่า นายจ้างให้หยุดงานหรือเลิกจ้าง, ประกอบอาชีพอิสระ และไม่มีผู้ว่าจ้าง หรือมี
             ผู้ใช้บริการน้อยลง, ประกอบอาชีพค้าขาย และค้าขายได้น้อยลง ทั้งนี้ เมื่อไม่สามารถ
             ประกอบอาชีพได้ดังปกติจึงทำให้รายได้ลดลง โดยผู้ตอบผลสำรวจกว่า 60 เปอร์เซ็นต์
             กล่าวว่ารายได้ลดลงเกือบทั้งหมด และด้านการเข้าถึงมาตรการของรัฐ ราว 66 เปอร์เซ็นต์
             ที่พยายามลงทะเบียนในโครงการรับเงินเยียวยา 5,000 บาทนั้น สามารถลงทะเบียน
             สำเร็จ 51.87 เปอร์เซ็นต์ และลงทะเบียนไม่สำเร็จ 14.60 เปอร์เซ็นต์ โดยอีก 28.99
             เปอร์เซ็นต์ไม่ได้ลงทะเบียน เพราะทราบว่าตัวเองขาดคุณสมบัติ (มติชน, 2563,
             13 เมษายน)

                    23  คนจนเมืองที่ “หลุดระบบ” ซึ่งเป็นความยากจนที่ “มาก” กว่าความยากจน
             เมืองทั่วไป กล่าวคือ คนเหล่านี้ไม่อยู่ในนิยามการเป็นคนจนของภาครัฐ ไม่อยู่ในฐาน
             ข้อมูลของรัฐ ไม่มีหน่วยงานหรือนโยบายที่เข้าไปดูแล อีกทั้งยังขาดการรวมตัวกันเป็น
             กลุ่มก้อน และมีลักษณะชั่วคราว อันเนื่องมาจากความผันผวนทางเศรษฐกิจหรือวิกฤติ
             ฉับพลัน (พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์, 2564, น. 10-11)



 สถาบันพระปกเกล้า
                                          สถาบันพระปกเกล้า
  81
   84   85   86   87   88   89   90   91   92   93   94