Page 87 - kpiebook65011
P. 87

ก่อนจะถึงการเลือกตั้ง
                         ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2565


             ระบาดโดยการปิดหรือเปิดสถานที่ เช่น ในช่วงปลายเดือนพฤษภาคม
             สั่งการสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร ให้ดำเนินการปิดและกักตัวคนงาน
             ในแคมป์ก่อสร้างในพื้นที่กรุงเทพมหานครเมื่อมีเหตุการณ์ระบาด
             แต่ในความเป็นจริง ศูนย์บูรณาการแก้ไขสถานการณ์โควิด-19 ในพื้นที่

             กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ถูกควบคุมการทำงานโดยศูนย์บริหาร
             สถานการณ์โควิด-19 กลางที่ดูแลสถานการณ์ระดับประเทศ และยังเห็นได้จาก
             การที่อำนาจในการสั่งการตรงถูกเปลี่ยนจากผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

             ไปเป็นการบัญชาการแก้ไขสถานการณ์โดยนายกรัฐมนตรีแทน
                   นอกจากนี้แล้ว กรุงเทพมหานครยังเกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหา

             สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในฐานะของการบริหารจัดการ
             สาธาณสุขในภาพรวม ในฐานะผู้ดูแลพื้นที่ และยังมีหน่วยงานตรงของ
             กรุงเทพมหานครที่ดูแลปัญหาสาธารณสุขในพื้นที่แม้ว่าจะไม่ครอบคลุม

             (อาทิ โรงพยาบาล และศูนย์สุขภาพในสังกัดกรุงเทพมหานคร) เพราะยัง
             ต้องเชื่อมโยงกับโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข โรงพยาบาล
             เอกชน และโรงพยาบาลในสังกัดของมหาวิทยาลัย (โรงเรียนแพทย์) จาก
             สถานการณ์โควิด-19 ในพื้นที่กรุงเทพมหานครที่มีความรุนแรง ทำให้
             กรุงเทพมหานครในฐานะหน่วยปกครองท้องถิ่นได้ออกมาตรการใน

             การช่วยเหลือผู้ติดเชื้อและมาตรการในการป้องกันการแพร่ระบาด
             หลายด้านด้วยกัน ได้แก่ สั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว (ดังที่ได้กล่าว
             ไปแล้ว) การจัดตั้งทีม CCRT เพื่อดูแลประชาชน เช่น การจัดจุดคัดกรอง

             เชิงรุก ให้คำแนะนำสำหรับการกักตัวที่บ้าน (Home isolation) การส่งจุด
             ยารักษาโรค การจัดส่งผู้ป่วยที่ไม่สามารถรักษาที่บ้านได้ไปยังโรงพยาบาล
             สังกัดกรุงเทพมหานคร โรงพยาบาลสนาม และ Hospitel (ไทยรัฐ, 2564,
             21 กรกฎาคม)








 สถาบันพระปกเกล้า
                                          สถาบันพระปกเกล้า
  79
   82   83   84   85   86   87   88   89   90   91   92