Page 88 - kpiebook65011
P. 88
ก่อนจะถึงการเลือกตั้ง
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2565
ยิ่งไปกว่านั้นกรุงเทพมหานครยังดำเนินการในเรื่องการจัดหาวัคซีน
ให้แก่ประชาชนด้วย เช่น การจัดหาวัคซีนซิโนฟาร์มให้แก่ผู้ป่วยติดเตียง
และการจัดหาวัคซีนโดยให้ประชาชนลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ไทยร่วมใจ
(ประชาชาติธุรกิจ, 2564, 27 พฤษภาคม) ซึ่งเป็นการลงทะเบียนที่
ประสานความร่วมมือหลายภาคส่วน และล่าสุดกรุงเทพมหานครมีการ
วางแผนจัดซื้อวัคซีนเพิ่มด้วย (ไทยพีบีเอส, 2564, 29 กรกฎาคม)
แต่กระนั้นก็ตาม เรื่องการกระจายวัคซีนไปยังพื้นที่กรุงเทพมหานคร
ที่สาธารณะไม่สามารถจัดส่งให้กรุงเทพมหานครได้ตรงเวลา ทำให้
กรุงเทพมหานครต้องเลื่อนการฉีดวัคซีนให้ประชาชนผู้ลงทะเบียนออกไป
ซึ่งประเด็นดังกล่าวก็ได้กลายเป็นประเด็นความขัดแย้งระหว่างกระทรวง
สาธารณสุขและกรุงเทพมหานครในการบริหารจัดการวัคซีน
(The Standard, 2564, 14 มิถุนายน; มติชน, 2564, 14 มิถุนายน)
(3) ความเปราะบางของมหานครกรุงเทพ ในฐานะประเด็น
ท้าทายของกรุงเทพมหานครในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19
ในการแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกแรกในมหานครกรุงเทพได้มี
การสำรวจความสัมพันธ์ระหว่างการแพร่ระบาดของโควิด-19 กับการดำรง
ชีวิตของประชาชนในชุมชนแออัด พบว่า คนจนเมืองที่อยู่ในชุมชนแออัด
มีความระมัดระวังในการใช้ชีวิตและตระหนักถึงภัยของการระบาด ทั้งใน
แง่ของการสวมหน้ากากอนามัยและพกเจลแอลกอฮอล์เมื่อออกจากบ้าน
อย่างไรก็ตาม คนจนเมืองเหล่านี้อยู่ในสภาพการพักอาศัยที่สุ่มเสี่ยงใน
การป้องกันการระบาด เช่นไม่มีพื้นที่ในบ้านที่จะเว้นระยะห่าง หรือกักตัว
อีกทั้งต้องออกจากบ้านไปทำงานในพื้นที่เสี่ยงด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจ
นอกจากนี้ พวกเขายังได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการเลิกจ้าง
การลดลงของรายได้เนื่องจากการปิดเมือง และการชดเชยที่ไม่เพียงพอต่อ
การใช้ชีวิต อีกทั้งยังประสบปัญหาการเข้าถึงระบบความช่วยเหลือของรัฐ
80 สถาบันพระปกเกล้า
สถาบันพระปกเกล้า