Page 78 - kpiebook64015
P. 78

เชื่อสองอย่าง อย่างแรกคือ เชื่อในความเป็นอิสระทางการเมืองของแต่ละปัจเจกบุคคลที่แม้นว่าเป็นพ่อแม่ผัวเมียกับ

              ส.ส. แต่ก็จะทำหน้าที่ได้อย่างไม่คิดถึงผลประโยชน์ในครอบครัว แต่คิดถึงผลประโยชน์ของชาติเป็นหลัก  อ ย่ า งที่
              สองคือ เชื่อว่า “ญาติ”  ส.ส. คงไม่สมัคร ส.ว. แต่เอาเข้าจริง มันดันไม่เป็นไปอย่างที่คนร่างเชื่อ  เพราะวุฒิสภาสมัย

              นั้นลงเอยเป็น “สภาผัวเมีย”    ต่อมาในรัฐธรรมนูญ 2550 ซึ่งมี ส.ว. สองประเภท แต่ก็กำหนดไว้ทั้งสองประเภทว่า

              ผู้ที่จะเป็น ส.ว. จะต้องไม่เป็น “ญาติ”  กับ ส.ส.  ก็เลยมีคนร้องโวยวายว่า ออกกฎหมายแบบนี้ขัดกับหลักสิทธิ
              มนุษยชนที่มนุษย์ทุกคนต้องเสมอภาคและมีเสรีภาพที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองไม่ว่าจะในระดับ ส.ส. หรือ

              ส.ว. ก็ตาม  ที่จริงนอกจากจะขัดกับหลักสิทธิมนุษยชนแล้ว มันยังขัดกับหลักสิทธิประโยชน์ของคนในครอบครัวด้วย

              เพราะมันไปห้ามคนในครอบครัวเดียวกันออกไปเล่นการเมืองเป็น ส.ว. และ ส.ส. เพื่อประโยชน์ของครอบครัวของ
              ตน ต่อมาในรัฐธรรมนูญ 2560 เลยไม่มี ส.ว. ที่มาจากการเลือกตั้งไปเลย แต่ก็มี ส.ว. ที่เป็นญาติชิดกับคณะ คสช.

              ไปๆมาๆก็ดูจะไม่ได้ไปไหนไกลจากความกังวลสงสัยเดิมๆ
                     กลับมาที่กรณีของพรรคอนาคตใหม่ ข้อกังวลที่ว่า สมาชิกพรรคจะมีความเป็นอิสระได้จริงแค่ไหน ? และ

              พรรคจะเอาเงินที่ไหนไปใช้หนี้เจ้าหนี้ซึ่งก็คือหัวหน้าพรรค ? และการที่หัวหน้าพรรคเป็นลูกหนี้ตัวเองมันจะส่งผล

              ยังไง ? และหากพรรคหารายได้ไม่พอใช้หนี้ใช้ดอก แต่เจ้าหนี้คือหัวหน้าพรรคโอนอ่อนผ่อนผันให้ จะเกิด
              ความสัมพันธ์ทางความรู้สึกต่อหัวหน้าพรรคที่เป็นเจ้าหนี้ผู้มีเมตตาอย่างไร ?ถ้าตอบคำถามเหล่านี้ได้อย่างมีเหตุมีผล

              และมีหลักฐานทั้งเชิงประจักษ์และไม่ประจักษ์ เช่น  อาจจะตอบว่า วิสัยทัศน์ของเจ้าหนี้และวิสัยทัศน์ของหัวหน้า
              พรรคน่าจะสอดคล้องกัน เพราะทั้งสองสถานะในร่างเดียวกันต่างต้องการให้พรรคโต เจ้าหนี้พรรคก็ต้องการได้เงิน

              คืน และหัวหน้าพรรคก็ต้องการให้พรรคได้เสียงข้างมากในสภา สองบทบาทในร่างเดียวแต่มีเป้าหมายเดียวกัน แต่

              คำตอบนี้ก็ยังไม่ได้ยืนยันว่า ลูกพรรคมีความเป็นอิสระ  แต่ถ้าคิดตาม “ตรรกะทางเศรษฐศาสตร์และบทบัญญัติทาง
              กฎหมายของไทย พรรคการเมืองไทยกู้เงินได้แน่ๆ ตราบใดมีผู้ยินยอมจะให้กู้และรับความเสี่ยง เหมือนกับที่พรรค

              การเมืองในต่างประเทศ เช่น ประเทศกรีซทำเป็นประจำ กู้จากธนาคารโดยใช้หลักประกันซึ่งเป็นเงินสนับสนุนจาก

              รัฐสำหรับการเลือกตั้ง ซึ่งพรรคจะได้รับในอนาคต”  พรรคการเมืองในบ้านเราก็ต้องกู้เงินได้ และไม่ว่าจะกู้ใครก็ตาม
                     แต่หากว่ากันที่เจตนารมณ์แห่งกฎหมาย-รัฐธรรมนูญไทยที่ต้องการความเป็นอิสระของพรรคการเมืองและ

              ส.ส. ในพรรคด้วย  ก็คงต้องตีความกันวุ่นวายพอสมควร เพราะบางคนก็ออกมาบอกว่า กู้เงินหัวหน้าพรรคได้ เพราะ

              พรรคยังเป็นอิสระ แต่ถ้ากู้ “คนนอกพรรค”  พรรคจะไม่อิสระ  ซึ่งก็จริง แต่ความเป็นอิสระของคนในพรรคเล่า ?
              และถ้าอธิบายในทางปัจจัยเรื่องวัฒนธรรมการเมืองหรือวัฒนธรรมอุปถัมภ์แบบเจ้าหนี้ลูกหนี้แบบไทยๆที่นอกจากจะ

              เป็นเรื่องที่นักรัฐศาสตร์ใส่ใจแล้ว ยังเป็นเรื่องที่คนไทยส่วนใหญ่ที่เป็นหนี้หรือเจ้าหนี้ย่อมซาบซึ้งดี  เมื่อปี พ.ศ. 2549
              ทักษิณ ชินวัตร หัวหน้าพรรคการเมืองที่เป็นนายกรัฐมนตรียุบสภาผู้แทนราษฎรทั้งๆที่สภาฯไม่ได้มีปัญหาอะไร

              ปัญหามีแต่ที่ตัวหัวหน้าพรรค แต่หัวหน้าพรรคก็ยุบสภาทำให้ ส.ส. ต้องไปลงหาเสียงเลือกตั้งใหม่ทั้งๆที่เพิ่งเลือกตั้ง
              ไปได้ปีเดียว แต่ไม่มี ส.ส. พรรคไทยรักไทยคนใดออกมาคัดค้าน   เพราะน่าจะเป็นว่าตัวเองไม่ต้องจ่ายเงินค่าหาเสียง

              เอง  ถ้าเป็นประเทศอื่นที่ ส.ส. มีความเป็นอิสระ   ส.ส. คงไม่ยอม  ในกรณีของสหาราชอาณาจักร ยังต้องมีการแก้

              กฎหมายไม่ให้นายกฯยุบสภาได้ตามอำเภอใจ แต่ต้องได้เสียงสองในสามของ ส.ส. ในสภาถึงจะยุบได้  แม้ว่าพรรคจะ








                                                            78
   73   74   75   76   77   78   79   80   81   82   83