Page 77 - kpiebook64015
P. 77

ก็อยู่นอกพรรคแต่สนับสนุนพรรค ซึ่งกฎหมายพรรคการเมืองก็ได้กำหนดขอบเขตไว้ และต้องเปิดเผยให้สาธารณะ

              รับรู้ตรวจสอบได้  แต่ที่ไม่รู้ ตรวจสอบไม่ได้ก็คงมี  และก็มีวิธีทำกันอยู่  แต่พรรคที่มีหัวหน้าพรรคหรือ
              กรรมการบริหารพรรคเป็นนายทุน ก็จะมีความชัดเจนในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกพรรคที่เป็นนายทุนกับที่

              สมาชิกพรรคมักจะไม่ค่อยมีความเป็นอิสระและความเป็นตัวของตัวเอง ยกเว้นว่า มีฐานเสียงแน่นทั้งๆที่ไม่มีทุนหนา

              พอที่จะเป็นนายทุนพรรคได้  การกำหนดตัวคนลงสมัครเขตไหนหรือกำหนดลำดับบัญชีรายชื่อก็อยู่ในมือของสมาชิก
              พรรคที่เป็น “นายทุนพรรค”

                     ส่วนในกรณีของอนาคตใหม่ ไม่ได้มีนายทุนพรรคที่จะมีกลวิธีหล่อเลี้ยงกิจการของพรรคโดยไม่ต้องกู้เงิน  แต่

              เป็นเรื่องที่พรรคกู้เงินอย่างเป็นกิจจะลักษณะ ซึ่งน่าจะเป็นเรื่องดีกว่าปล่อยให้หัวหน้าหรือกรรมการบริหารพรรคมี
              อิทธิพลต่อสมาชิกพรรค ซึ่งสมาชิกเหล่านั้นจะไม่มีความเป็นอิสระได้เต็มที่ เพราะเวลาจะเดินทางไปไหน ใช้เงินหา

              เสียง ฯลฯ ก็อาศัยเงินจากนายทุนพรรคอุดหนุนจุนเจืออยู่  แต่ถ้าพรรคกู้เงินมาใช้ คนในพรรคก็ย่อมต้องมีอิสระมาก
              ขึ้นกว่าจะต้องอยู่ภายใต้นายทุนพรรค แต่นั่นหมายถึงการกู้เงินจากสถาบันการเงิน อย่างในกรณีของประเทศกรีซ

              แต่ในกรณีของอนาคตใหม่ การกู้เป็นการกู้จากหัวหน้าพรรค  การกู้หัวหน้าพรรคอาจจะเกิดจากความจำเป็นที่ไม่

              สามารถไปกู้สถาบันการเงินได้ เพราะจะต้องมีเงื่อนไขที่เข้าเกณฑ์ และดูเหมือนว่า สถาบันการเงินในประเทศไทย
              อาจจะยังไม่เคยให้พรรคการเมืองกู้มาก่อนด้วย   ขณะเดียวกัน สมาชิกพรรครวมทั้งหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่เองก็ไม่

              อยากจะให้พรรคอยู่ในสภาพของพรรคการเมืองเหมือนพรรคก่อนหน้าบางพรรคที่ให้หัวหน้าหรือกรรมการบริหาร
              พรรคที่เป็นนายทุนมีอิทธิพลต่อลูกพรรค  และถ้าไปกู้ “คนอื่น”  ก็ย่อมเข้าข่ายให้คนนอกมามีอิทธิพล  และคนไทย

              ก็จะเข้าใจไปว่า พรรคอนาคตใหม่ “เป็นสมบัติของ”  ผู้ให้กู้คนนั้น   และด้วยความจำเป็นและเหตุผลที่ต้องการหลุด

              ออกจากเงื่อนไขเก่าๆเหล่านี้  ทำให้พรรคอนาคตใหม่ตัดสินใจกู้เงินหัวหน้าพรรค  เพราะอย่างไรก็ตาม โดย
              กฎระเบียบและในทางปฏิบัติ ผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นหัวหน้าพรรคย่อมมีอำนาจและอิทธิพลในพรรคมากกว่าคนอื่นๆอยู่

              พอสมควรอยู่แล้ว แต่คนในพรรคเป็นคนรุ่นใหม่มีอุดมการณ์ หัวหน้าพรรคก็มีอุดมการณ์ และพรรคเองก็มีอุดมการณ์

              และต้องการเป็นพรรคการเมืองเพื่ออนาคตใหม่ที่ดีกว่า และมุ่งสู่เสรีภาพและความเสมอภาคของผู้คนในสังคม
                     ดังนั้น แม้จะกู้เงินหัวหน้าพรรค ก็ใช่ว่าลูกพรรคจะต้องเกรงใจหรือติดหนี้บุญคุณตามธรรมเนียมแบบไทยๆ

              เพราะพรรคนี้เขาพยายามมีอุดมการณ์ที่จะไม่เอาธรรมเนียมแบบไทยๆที่ทำให้คนไม่เท่ากันอยู่แล้ว ที่สำคัญ ถ้า

              หัวหน้าพรรคยืนยันและทำสัญญากับคนในพรรคว่า “ถึงแม้พรรคกู้เงินผม แต่พวกคุณไม่ต้องมาเกรงใจผมนะ ทุกคน
              เท่าเทียมกันในพรรคของเรา กู้ส่วนกู้ ไม่เกี่ยวกัน ที่สำคัญ ผมก็เป็นลูกหนี้เหมือนๆกับพวกเราทั้งหมดแหละครับ พวก

              เราเป็นส่วนหนึ่งของทั้งหมดที่แบ่งแยกไม่ได้ เรามีเจตจำนงร่วมกันครับ”    แต่สิ่งที่ปฏิเสธไม่ได้คือ สมาชิกพรรคจะมี
              ความเป็นอิสระได้จริงแค่ไหน ? และพรรคจะเอาเงินที่ไหนไปใช้หนี้เจ้าหนี้ซึ่งก็คือหัวหน้าพรรค ? และการที่หัวหน้า

              พรรคเป็นลูกหนี้ตัวเองมันจะส่งผลยังไง ?  และหากพรรคหารายได้ไม่พอใช้หนี้ใช้ดอก แต่เจ้าหนี้คือหัวหน้าพรรค
              โอนอ่อนผ่อนผันให้ จะเกิดความสัมพันธ์ทางความรู้สึกต่อหัวหน้าพรรคที่เป็นเจ้าหนี้ผู้มีเมตตาอย่างไร ?  จากความ

              กังวลสงสัยในเรื่องนี้ ทำให้ผู้วิจัยอดคิดถึงอีกเรื่องหนึ่งไม่ได้ นั่นคือ กฎหมายที่กำหนดคุณสมบัติของผู้สมัคร ส.ว. ใน

              รัฐธรรมนูญ 2540 ที่ไม่ได้ห้ามคนเป็นญาติ (เช่น เป็นพ่อเป็นแม่ เป็นสามีภริยา ฯ) กับ ส.ส. สมัคร  เพราะคนร่างคง








                                                            77
   72   73   74   75   76   77   78   79   80   81   82