Page 50 - kpiebook64015
P. 50
วิวัฒนาการของพรรคการเมืองในประเทศที่เป็นต้นแบบประชาธิปไตยย่อมรู้ว่า ทฤษฎีการเกิดพรรคการเมืองนั้น
พัฒนามาจากกลุ่มผลประโยชน์ หากไม่ได้พัฒนามาจากกลุ่มผลประโยชน์หรือกลุ่มก้อนสมาคมเอกชน ก็อาจจะ
เป็นกลุ่มชาตินิยมที่รวมตัวกันต่อสู้เรียกร้องเอกราชในกรณีที่ประเทศนั้นตกเป็นอาณานิคมหรืออยู่ภายใต้การ
ปกครองของประเทศอื่น หรือไม่ก็เป็นกลุ่มที่เรียกร้องต่อสู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองไปสู่ประชาธิปไตย
อย่างในกรณีของไทย คือ สมาคมกลุ่มคณะราษฎรที่ต่อสู้เพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบ
สมบูรณาญาสิทธิราชย์มาสู่ระบอบพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ และมีความพยายามจะตั้งพรรคการเมืองขึ้น
ทั้งจากฝั่งกลุ่มคณะราษฎรและกลุ่มที่อยู่ตรงข้าม อย่างเช่น คณะชาติ (ที่ถูกมองจากฝ่ายคณะราษฎรว่าเป็นพรรค
กษัตริย์ และคณะราษฎรในสายปรีดี พนมยงค์ก็ถูกมองว่าเป็นคอมมิวนิสต์) แต่ก็ไม่สามารถตั้งได้ทั้งคู่ดังที่ได้กล่าว
ไปข้างต้น แต่ปัญหาของกลุ่มการเมืองในประเทศไทยในช่วงระหว่าง พ.ศ. 2475-2490 เป็นความขัดแย้งต่อนัย
ความหมายและเนื้อหาสาระของระบอบการเมืองที่แต่ละฝ่ายเห็นต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นความหมายของระบอบ
พระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะขอบเขตของพระราชอำนาจ หรือความหมายของประชาธิปไตยและ
คอมมิวนิสต์ จึงทำให้ยังไม่ลงตัวในเรื่องการมีพรรคการเมือง เพราะอย่างที่กล่าวไปแล้วว่า ต่างฝ่ายต่างระแวงว่า
หากจัดตั้งพรรคการเมืองแล้วอาจจะนำไปสู่การแบ่งแยกผู้คนในประเทศออกเป็นฝักฝ่ายผ่านการเลือกตั้ง และอาจ
นำไปสู่ความขัดแย้งที่รุนแรงจนนำไปสู่ความไร้เสถียรภาพของระบอบการเมืองและอาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง
ระบอบ (regime change) ที่ไม่รู้ว่าจะลงเอยด้วยชัยชนะของฝ่ายใด ซึ่งการมีพรรคการเมืองที่เป็นคู่ขัดแย้งใน
ลักษณะนี้ ไม่น่าจะเป็นผลดีต่อการเมืองของประเทศนั้นๆ เพราะไม่ได้ต่อสู้กันที่นโยบายสาธารณะเท่ากับการ
เปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง เพราะอย่างในกรณีของสหราชอาณาจักร (อังกฤษ) การต่อสู้ระหว่างฝ่ายกษัตริย์
และฝ่ายรัฐสภาที่เป็นการต่อสู้ในประเด็นขอบเขตพระราชอำนาจและอำนาจของรัฐสภา ซึ่งก็คือการต่อสู้ในประเด็น
ระบอบการปกครองนั่นเอง ได้ลงเอยด้วยชัยชนะของฝ่ายรัฐสภา และต่อมาแม้ว่าจะมีกลุ่มการเมืองสองกลุ่มใน
รัฐสภาที่มีความเห็นต่าง อันได้แก่ กลุ่มที่เรียกว่าทอรี่ (Tory) และกลุ่มวิก (Whigh) ทั้งสองกลุ่มนี้มิได้ขัดแย้งกันใน
ประเด็นเรื่องระบอบ เพราะทั้งสองกลุ่มต่างปฏิเสธระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และต้องการระบอบปริมิตตาญา
สิทธิราชย์ (Limited Monarchy) หรือระบอบกษัตริย์ในรัฐสภา (King in Parliament) ที่ ณ เวลานั้น ยังไม่มีการ
เรียกว่าระบอบพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ (Constitutional Monarchy) แต่ประเด็นหลักที่สองกลุ่มนี้
ขัดแย้งกันหลังจากเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นปรมิตตาญาสิทธิราชย์คือ
ประเด็นการสืบราชสันตติวงศ์ ดังนั้น กลุ่มการเมืองทั้งสองนี้ที่ต่อมาพัฒนาเป็นพรรคการเมืองอนุรักษ์นิยมและเสรี
นิยมที่ต่อสู้แข่งขันกัน จึงไม่ได้เป็นปัจจัยที่อันตรายต่อเสถียรภาพของระบอบเหมือนอย่างในกรณีของไทยในช่วง
ดังกล่าว
ขณะเดียวกัน การเกิดพรรคการเมืองที่ไม่ได้มีรากฐานและวิวัฒนาการจากการเป็นกลุ่มผลประโยชน์หรือ
การเป็นกลุ่มสมาคมเอกชนที่มีประวัติศาสตร์การเรียกร้องต่อสู้ทางสังคมเศรษฐกิจการเมืองมาก่อน ก็อาจจะเกิดเป็น
พรรคการเมืองขึ้นโดยทันทีภายใต้เงื่อนไขทางกฎหมาย อันหมายความว่าการก่อตั้งพรรคการเมืองในเงื่อนไขบริบท
แบบนี้ ไม่จำเป็นต้องมีวิวัฒนาการทางประวัติศาสตร์ใดๆมาก่อน และไม่ได้สถานะของกลุ่มผลประโยชน์หรือสมาคม
50