Page 76 - kpiebook64013
P. 76
ตามรัฐธรรมนูญฉบับพุทธศักราช 2540 18
1.4 การพิจารณาตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
ของกฎหมายหรือข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา
การตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมาย หรือ
ข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา ข้อบังคับการประชุมรัฐสภา ตามที่ได้บัญญัติ
ไว้ในรัฐธรรมนูญมาตรา 262
19
18 บวรศักดิ์ อุวรรณโณ และปัทมา สูบกำาบัง. (2543). บทบาทและอำานาจหน้าที่
ของวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540
19 มาตรา 262 ร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญใด
ที่รัฐสภาให้ความเห็นชอบแล้วก่อนที่นายกรัฐมนตรีจะนำาร่างพระราชบัญญัติหรือ
ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนญูนั้นขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเพื่อ
พระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยตามมาตรา 93 หรือร่างพระราชบัญญัติหรือ
ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญใดที่รัฐสภาลงมติยิืนยันตามมาตรา 94
ก่อนที่นายกรัฐมนตรีจะนำาร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบ
รัฐธรรมนูญนั้นขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายอีกครั้งหนึ่ง
(1) หากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา หรือสมาชิกของทั้งสองสภา
รวมกันมีจำานวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของ
ทั้งสองสภาเห็นว่าร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ
นี้หรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ให้เสนอความเห็นต่อ
ประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา หรือประธานรัฐสภาแล้วแต่กรณี แล้วให้
ประธานแห่งสภาที่ได้รับความเห็นดังกล่าวส่งความเห็นนั้นไปยังศาลรัฐธรรมนูญ
เพื่อวินิจฉัยและแจ้งให้นายกรัฐมนตรีทราบโดยไม่ชักช้า
(2) หากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา หรือสมาชิกของทั้งสองสภา
รวมกันมีจำานวนไม่น้อยกว่ายี่สิบคน เห็นว่าร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
ดังกล่าวมีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้ หรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตาม
บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ ให้เสนอความเห็นต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร
ประธานวุฒิสภา หรือประธานรัฐสภาแล้วแต่กรณี แล้วให้ประธานแห่งสภาที่ได้รับ
ความเห็นดังกล่าวส่งความเห็นนั้นไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิิจฉัย และแจ้งให้
นายกรัฐมนตรีทราบโดยไม่ชักช้า
76 บทบาทอำานาจหน้าที่ของวุฒิสภาในระบบสภาคู่กับประสิทธิผลในการเสริมสร้างเสถียรภาพทางการเมืองและการพัฒนาประชาธิปไตยไทย