Page 268 - kpiebook64013
P. 268
ผู้ดำารงตำาแหน่งตามที่กฎหมายกำาหนด ดังเช่น วุฒิสภาของประเทศ
ฟิลิปปินส์ ซึ่งมีอำานาจหน้าที่หลักในการออกกฎหมาย โดยร่างกฎหมาย
ทุกฉบับต้องผ่านการพิจารณาจากทั้งสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา
รวมถึงยังมีการควบคุมการทำางานของฝ่ายบริหารในการทำาหน้าที่ควบคุม
และตรวจสอบการทำางานของฝ่ายบริหาร ส่งผลให้สามารถมองเห็น
ข้อบกพร่องและจุดอ่อนบางประการของฝ่ายบริหารและนำาข้อมูลเหล่านั้น
นำามาใช้ตรากฎหมายใหม่ หรือปรับปรุงกฎหมายเดิมให้มีคุณภาพ
มากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังมีอำานาจตรวจสอบและตัดสินการถอดถอน
ผู้ดำารงตำาแหน่งระดับสูงด้วยกระบวนการฟ้องร้องกล่าวโทษ และไต่สวน
ทั้งนี้ การถอดถอนผู้ดำารงตำาแหน่งของไทยนั้น ตามรัฐธรรมนูญแห่ง
ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และ 2550 ได้กำาหนดให้วุฒิสภา
มีอำานาจถอดถอนผู้ดำารงตำาแหน่งออกจากตำาแหน่งได้ หากแต่รัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ไม่ได้กำาหนดให้มีอำานาจ
ถอดถอนผู้ดำารงตำาแหน่งตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ออกจากตำาแหน่ง
แนวคิดเรื่องระบบรัฐสภาของประเทศไทยซึ่งปัจจุบันนั้นใช้
ระบบ “สภาคู่” กล่าวคือมีทั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา
ซึ่งแนวคิดระบบสภาคู่นี้ถ้าหากพิจารณาถึงแนวคิดการมีสภาที่สองขึ้นมา
คือ ถ่วงอำานาจระหว่างสภานิติบัญญัติกับรัฐบาล ซึ่งเกิดจากความไม่มี
ประสิทธิภาพการถ่วงดุลอำานาจของรัฐสภา ข้อดีของระบบสภาคู่กล่าวได้ว่า
ทำาให้เกิดการตรวจสอบและสร้างดุลยภาพของสองสภา แต่ทางตรงกันข้าม
เนื่องจากบทบาทและอำานาจหน้าที่ของวุฒิสภาตามบทเฉพาะกาลนั้น
ไม่มีอำานาจในการตรวจสอบและถ่วงดุลอำานาจของรัฐ อีกทั้งด้าน
การพิจารณาพระราชบัญญัติและกลั่นกรองกฎหมายหากใช้ระบบ
สองสภานั้นอาจเกิดความล่าช้าต่อการพิจารณาอนุมัติ หรือการแก้ไขได้
ดังนั้นด้วยเหตุเหล่านี้ จึงทำาให้แนวคิดของการมีระบบสภาเดี่ยวนั้น
268 บทบาทอำานาจหน้าที่ของวุฒิสภาในระบบสภาคู่กับประสิทธิผลในการเสริมสร้างเสถียรภาพทางการเมืองและการพัฒนาประชาธิปไตยไทย