Page 273 - kpiebook64013
P. 273

2.      ข้อเสนอแนะ


                       จากการศึกษาพบว่า สมาชิกวุฒิสภายังคงมีความจำาเป็นต่อ

              ระบบการเมืองของไทยในฐานะองค์กรที่สร้างสมดุลแห่งอำานาจ ทั้งใน
              มิติของฝ่ายนิติบัญญัติและหน้าที่และอำานาจในด้านอื่นๆ โดยเฉพาะ

              การตรวจสอบการใช้อำานาจรัฐ อย่างไรก็ตาม นอกจากปัญหาการยอมรับ
              ในที่มาของสมาชิกวุฒิสภาตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่ง
              ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 แล้ว การบัญญัติถึงหน้าที่และ

              อำานาจของสมาชิกวุฒิสภายังมีปัญหาในเรื่องการยอมรับของสังคม
              โดยเฉพาะต่อทัศนะที่มองว่า วุฒิสภาเป็นเครื่องมือแห่งการสืบทอด

              อำานาจของ คสช. อันส่งผลต่อการพัฒนาระบอบประชาธิปไตยของไทย
              โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บทบาทตามบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญที่ให้
              หน้าที่และอำานาจเกี่ยวกับการปฏิรูปประเทศและการลงคะแนนเลือก

              นายกรัฐมนตรี ดังนั้น เพื่อให้เกิดพัฒนาการที่เป็นที่ยอมรับของสังคม
              จึงมีความจำาเป็นในการกำาหนดหน้าที่และอำานาจ รวมถึงบทบาทที่เหมาะสม

              ของสมาชิกวุฒิสภาต่อไป โดยหน้าที่และอำานาจรวมถึงบทบาทที่เหมาะสม
              ของสมาชิกวุฒิสภาควรถูกแก้ไขและกำาหนดกรอบไว้ ดังนี้


                       1)  บทบาทและอ�านาจหน้าที่ด้านนิติบัญญัติ
                       1.1  การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติ

                           ประกอบรัฐธรรมนูญ

                       1.2  การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่าย
                           ประจำาปี

                       1.3  การอนุมัติพระราชกำาหนด

                       1.4  การพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมในที่ประชุม
                           ร่วมกันของรัฐสภา



                                                                           273
   268   269   270   271   272   273   274   275   276   277   278