Page 270 - kpiebook64013
P. 270
การนำาประเทศไปสู่ประชาธิปไตย เนื่องมาจากมีสมาชิกวุฒิสภาเป็นผู้นำา
เหล่าทัพ ปลัดกระทรวง ข้าราชการเกษียณ และที่สำาคัญ สมาชิกวุฒิสภา
ชุดนี้มีอำานาจในการเลือกบุคคลให้ดำารงตำาแหน่งนายกรัฐมนตรี ซึ่ง
การมองถึงศักยภาพในการพัฒนาและขับเคลื่อนประเทศซึ่งทิศทาง
การพัฒนาและการขับเคลื่อนประเทศดังกล่าว มีความสอดคล้องกับ
กระแสการแข่งขัน กระแสการเปลี่ยนแปลงตามพลวัตของโลก แต่ในทาง
ตรงกันข้ามกลับพบว่า อาชีพของสมาชิกวุฒิสภาบางกลุ่มนั้นมิได้
สอดรับกับการแข่งขันทางเศรษฐกิจ แต่สอดรับกับเรื่องของการป้องกัน
ราชอาณาจักรและการทำาสงคราม กล่าวคือ สมาชิกวุฒิสภาที่ดำารงตำาแหน่ง
ผู้บัญชาการเหล่าทัพ ขาดการบูรณาการร่วมกันระหว่างภาครัฐ ภาคประชา
สังคม และภาคเอกชน ซึ่งเน้นการมีส่วนร่วมตามระบอบประชาธิปไตย
หากแต่แนวคิดของวุฒิสภากลุ่มนี้ยังเป็นแนวคิดแบบเชิงเดี่ยวและ
รวมศูนย์กล่าวคือ อำานาจการตัดสินใจยังมาจากกลุ่มคนไม่กี่คน
ทั้งนี้ เมื่อกล่าวถึงภาคเศรษฐกิจอีกหนึ่งแนวคิดของผู้ที่เห็นว่า
สมาชิกวุฒิสภาเป็นปัญหาต่อการพัฒนาระบอบประชาธิปไตยของไทย
นั้นยังมองว่า การที่มีวุฒิสภาที่ไม่มีศักยภาพที่จะขับเคลื่อนและพัฒนา
ประเทศจะยิ่งเพิ่มความเหลื่อมลำ้ามากขึ้น เนื่องจากหากพิจารณาถึง
งบประมาณที่เกี่ยวเนื่องกับการปฏิบัติหน้าที่ของสมาชิกวุฒิสภา
ค่าสวัสดิการ เบี้ยการประชุม รวมแล้วตกอยู่ประมาณ 5,000 ล้านบาท
ใน 5 ปี ซึ่งงบประมาณส่วนหนึ่งมาจากภาษีของประชาชน นอกจาก
สมาชิกวุฒิสภาควรเป็นส่วนสำาคัญในการพัฒนาระบอบประชาธิปไตย
เพื่อเสถียรภาพทางการเมืองแบบอย่างของสมาชิกวุฒิสภาของ
ต่างประเทศแล้ว ควรจะมีบทบาทสำาคัญต่อการพัฒนาและขับเคลื่อน
ประเทศโดยมีองค์ความรู้และความเข้าใจภายใต้กระแสการแข่งขันและ
ความเป็นพลวัตของโลกได้เป็นอย่างดี อีกทั้งหากมองย้อนไปสมัย
270 บทบาทอำานาจหน้าที่ของวุฒิสภาในระบบสภาคู่กับประสิทธิผลในการเสริมสร้างเสถียรภาพทางการเมืองและการพัฒนาประชาธิปไตยไทย