Page 267 - kpiebook64013
P. 267
คล้ายคลึงกับ “ระบบสภาพี่น้อง” หรืออาจเรียกอีกอย่างว่าเป็น “ระบอบ
ญาติมิตรธิปไตย” ซึ่งกล่าวได้ว่า ผู้มีอำานาจสามารถทำาการเลือกบุคคล
เข้ามาร่วมรับผลประโยชน์เพื่อให้ตนนั้นได้ดำารงไว้ซึ่งอำานาจ ซึ่งหาก
พิจารณาตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช 2540 และ 2550 จะพบว่า วุฒิสภาไม่สามารถเลือกบุคคล
ให้ดำารงตำาแหน่งนายกรัฐมนตรีได้ นั่นจึงทำาให้สมาชิกวุฒิสภาชุดนี้เป็น
กลไกของการสืบทอดอำานาจโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาตินั่นเอง และ
นอกจากนี้ อีกหนึ่งกลไกที่สำาคัญของการสืบทอดอำานาจคือ บทบาทและ
อำานาจหน้าที่การยับยั้งการแก้ไขรัฐธรรมนูญ รวมถึงปราศจากบทบาท
และอำานาจหน้าการตรวจสอบและถ่วงดุลอำานาจรัฐ อันสรุปได้เมื่อ
พิจารณาถึงบทเฉพาะกาลว่าสมาชิกวุฒิสภาชุดนี้มีอำานาจที่มากเกินไป
หากเปรียบเทียบกับวุฒิสภาของต่างประเทศอันส่งผลต่อดุลยอำานาจ
ที่เหมาะสมต่อพัฒนาการระบอบประชาธิปไตยของไทย
ที่ผ่านมา วุฒิสภาในต่างประเทศมักจะถูกลดทอนและจำากัด
เรื่องของอำานาจ แม้ในบางประเทศจะมีรูปแบบการได้มาซึ่งสมาชิก
วุฒิสภาจากการแต่งตั้งทั้งหมดก็ตาม อาทิ สภาขุนนางของอังกฤษ
มีพระราชบัญญัติรัฐสภาปี ค.ศ. 1999 จำากัดจำานวนขุนนางประเภท
ขุนนางสืบตระกูล เนื่องจากสภาขุนนางนั้นมีแนวความคิดเป็นอนุรักษ์นิยมสูง
โดยให้มีการสรรหากันเองภายในสมาชิกตระกูลขุนนางเหล่านั้น และ
ขุนนางกลุ่มนี้ไม่มีสิทธิ์สืบทอดตำาแหน่งจากรุ่นสู่รุ่นอีกต่อไป
วุฒิสภาต่างประเทศมักจะมีบทบาทและอำานาจหลักคือ
การตรวจสอบและถ่วงดุลการใช้อำานาจของรัฐเพื่อป้องกันไม่ให้เกิด
การใช้อำานาจรัฐต่อประชาชนเกินควร ทั้งต่อการพิจารณาตรวจสอบและ
กลั่นกรองกฎหมาย การบริหารราชการแผ่นดิน รวมถึงการถอดถอน
267