Page 6 - kpiebook64008
P. 6
ข้อมูลการส ารวจความคิดเห็นของประชาชนและปัจจัยที่ส่งผลต่อการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง อบจ. จังหวัด
เชียงใหม่พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ให้ความส าคัญต่อพรรคการเมืองและแนวนโยบายของพรรคที่เน้นการแก้ไข
ปัญหาท้องถิ่นจังหวัดเชียงใหม่ และพบว่า ความแตกต่างที่ส าคัญกับกรณีของการเลือกตั้งในระดับชาติประการหนึ่ง
คือ ปัจจัยส าคัญที่ใช้พิจารณาในการลงคะแนนสียงเลือกตั้ง คือ ด้านคุณลักษณะและคุณสมบัติผู้สมัครเลือกตั้ง นายก
อบจ. และ ส.อบจ. คือ เป็นคนที่มีประสบการณ์การท างานการเมืองมาก่อนและควรเป็นคนในพื้นที่หรือมีภูมิล าเนา
ในเขตของตนเอง เพราะจะมีความเข้าใจปัญหาของท้องถิ่นและเชื่อว่ามีความคุ้นเคยใกล้ชิดกับประชาชนมาก่อนนั้น
สามารถเอื้อต่อการเป็นตัวแทนท างานในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในขณะที่กลุ่มนักศึกษามองว่าระดับการศึกษา
ของผู้สมัครมีความส าคัญ เพราะการแก้ไขปัญหาระดับท้องถิ่นที่มีความแตกต่างหลากหลายไปตามสภาพพื้นที่
ต้องการคนที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญในการพัฒนา เพราะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นหน่วยการปกครองที่
ส าคัญต่อการสร้างคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจของประชาชน
ข้อเสนอแนะของการศึกษาวิจัยยังเชื่อว่า การให้ความรู้เรื่องการเลือกตั้งท้องถิ่นมีความส าคัญและ
จ าเป็นต้องท าอย่างต่อเนื่องและเข้าถึงประชาชนเพื่อให้ประชาชนเห็นความส าคัญกับการวางรากฐานประชาธิปไตย
ระดับท้องถิ่น และการแสดงบทบาททางการเมืองในฐานะผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ถูกต้องตามกฎหมายให้แก่ประชาชน
โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ต้องให้ความรู้ความเข้าใจรูปแบบ ระบบการเลือกตั้งเพื่อเป็นก าลังส าคัญในการส่งเสริม
สนับสนุนการท างานเชิงเครือข่ายร่วมกับภาครัฐและองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการจัดการการเลือกตั้งให้สุจริต ดังนั้น การ
เลือกตั้งจึงเป็นเรื่องที่ต้องสร้างเครือข่ายความร่วมมือของทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานภาครัฐ ส านักงาน
คณะกรรมการการเลือกตั้งประจ าจังหวัดเชียงใหม่ (กกต.เชียงใหม่) และสถาบันการศึกษา ในช่วงเวลาของการ
เลือกตั้งนับตั้งแต่เกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จึงควรมีการก าหนด
มาตรการที่ได้มาตรฐานในการจัดการเลือกตั้งและให้ความรู้แก่บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเลือกตั้งตามหน่วย
เลือกตั้ง โดยเฉพาะการเพิ่มงบประมาณให้มีการเตรียมการเรื่องการจัดอบรมให้ความรู้เจ้าหน้าที่ประจ าหน่วย
เลือกตั้ง พร้อมทั้งอุปกรณ์ในการจัดพื้นที่ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งอย่างเหมาะสมเอื้อต่อการรองรับสถานการณ์การ
แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และสภาพบริบทพื้นที่
ข้อเสนอที่ส าคัญอีกประการคือ ควรพิจารณาแก้ไขกฎเกณฑ์ให้มีการเลือกตั้งล่วงหน้าหรือการเลือกตั้งนอก
เขตเลือกตั้ง ดังเช่นการเลือกตั้งระดับชาติ เพื่อเอื้ออ านวยต่อการมีส่วนร่วมในการไปใช้สิทธิเลือกตั้งของประชาชนที่
มีการเคลื่อนย้ายถิ่นฐาน นอกจากนี้ ผลพวงจากความขัดแย้งทางการเมืองน าไปสู่ข้อเสนอจากประชาชนที่เห็นว่า
การเลือกตั้งสะท้อนภาพของการต่อสู้ระหว่างกลุ่มและชนชั้น แต่หากเปิดพื้นที่ให้แก่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งสามารถมี
บทบาทในการเลือกตัวแทนของพรรคการเมืองหรือกลุ่มการเมืองในการเลือกตั้งระดับท้องถิ่นจะลดความขัดแย้งและ
สร้างส านึกต่อบทบาททางการเมืองของประชาชนมากขึ้น จึงเสนอให้พรรคการเมืองและกลุ่มการเมืองใช้แนวทางการ
เลือกตัวแทนในการลงสมัครรับเลือกตั้งที่เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการเลือกตัวแทนได้ เช่นเดียวกับระบบ
Primary Vote ซึ่งจะท าให้ได้ตัวแทนการเมืองที่มาจากความต้องการของประชาชนเพื่อสร้างความรู้สึกร่วมในการ
เป็นเจ้าของและมีความรู้สึกหวงแหนคุณค่าของความเป็นชุมชนท้องถิ่นร่วมกัน ซึ่งจะมีผลต่อการแก้ไขปัญหาระดับ
ท้องถิ่นและยังช่วยแก้ปัญหาการทุจริตในการเลือกตั้งได้อย่างยั่งยืน
ง
โครงการศึกษาการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ปี 2563: การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่