Page 3 - kpiebook64008
P. 3

บทสรุปผู้บริหาร

                        การเลือกตั้งท้องถิ่นในระดับองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ที่เกิดขึ้นในวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2563
               นับว่ามีความส าคัญอย่างยิ่งต่อการศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและพฤติกรรมทางการเมืองของประชาชน

               ในระดับท้องถิ่น โดยเฉพาะการเลือกตั้งท้องถิ่นครั้งนี้เป็นผลต่อเนื่องมาจากการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 24 มีนาคม
               พ.ศ. 2562 ในการเลือกตั้งองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่นั้น ทั้งการเลือกนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด
               (นายก อบจ.) ที่นับเป็นการเลือกตั้งผู้น าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยตรง โดยมีผู้สมัครลงเลือกตั้งนายกองค์การ
               บริหารส่วนจังหวัด (นายก อบจ.) จ านวนทั้งสิ้น 6 คน และการเลือกสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด (ส.อบจ.)

               จ านวน 42 คน จากเขตเลือกตั้งของพื้นที่ 25 อ าเภอ ทั่วทั้งจังหวัดเชียงใหม่ พื้นที่จังหวัดเชียงใหม่หากมองมิติการ
               เติบโตทางเศรษฐกิจและสังคมจะพบการขยายตัวของประชากร ทั้งประชากรที่เป็นคนในพื้นที่ ประชากรที่ย้ายถิ่น
               ฐาน และประชากรแฝงที่เข้ามาอาศัยในจังหวัดเชียงใหม่เพิ่มมากขึ้น ท าให้จังหวัดเชียงใหม่มีการเติบโตของภาคธุรกิจ

               ภาคการศึกษา และเกิดความหลากหลายของกลุ่มผลประโยชน์ทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ที่ส าคัญจังหวัด
               เชียงใหม่เป็นจังหวัดที่ปรากฏให้เห็นการเคลื่อนไหวทางการเมืองมาอย่างต่อเนื่องที่ การเชื่อมโยงจังหวัดในฐานะ
               พื้นที่การเมืองที่เกี่ยวข้องกับพรรคการเมือง ผู้น าการเมือง ท าให้จังหวัดเชียงใหม่เป็นศูนย์กลางของการท าความ
               เข้าใจการเมืองภาคเหนือตอนบน ดังนั้น การเลือกตั้ง อบจ.เชียงใหม่ในวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2563 ถือเป็นการ
               เลือกตั้งท้องถิ่นที่ทิ้งช่วงของการเลือกตั้งยาวนานกว่า 8 ปีนับจากการจัดการเลือกตั้ง อบจ. ครั้งสุดท้ายในวันที่ 23

               มิถุนายน พ.ศ. 2555 จึงปฏิเสธไม่ได้ว่าการเลือกตั้ง อบจ. ครั้งนี้ ไม่เพียงมีความส าคัญต่อการศึกษาวิจัยแต่ส าคัญต่อ
               พรรคการเมืองและกลุ่มการเมืองเพื่อเตรียมการวางแผน แนวทาง การเตรียมการเลือกตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
               ในระดับอื่น ๆ ที่จะเกิดขึ้นตามมาไม่ว่าจะเป็นการเลือกตั้งระดับเทศบาลและองค์การบริหารส่วนต าบล (อบต.)

                        การศึกษาวิจัยเรื่อง “การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วน
               จังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ. 2563”  จึงมีวัตถุประสงค์การวิจัยดังต่อไปนี้


                        1. เพื่อศึกษาและท าความเข้าใจข้อมูล สถิติเกี่ยวกับการเลือกตั้งองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่
                           รวมทั้งบรรยากาศทางการเมืองของนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ และการเลือกตั้ง
                           สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด
                        2. เพื่อศึกษารูปแบบ วิธีการในการหาเสียงเลือกตั้ง และพฤติกรรมทางการเมืองของผู้สมัครรับเลือกตั้ง

                           เป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่
                        3. เพื่อศึกษาความคิดเห็น  พฤติกรรมทางการเมือง และปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจลงคะแนนเสียง
                           ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งจังหวัดเชียงใหม่
                        4. เพื่อศึกษาปัญหาและประเด็นส าคัญที่ส่งผลต่อการจัดการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด

                           และสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่

                        ในการศึกษาวิจัยนี้เป็นการศึกษาวิจัยที่อาศัยแนวทางการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Approach) และ
               แนวทางการวิจัยเชิงส ารวจ (Survey Research) พร้อมทั้งการค้นคว้าและวิจัยเอกสาร (Documentary Research) และ
               การลงพื้นที่เก็บข้อมูล (Field Research) ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview Method) และ
               การสัมภาษณ์กลุ่ม (Focus-group Interview Method) โดยผู้ให้ข้อมูลที่ใช้แนวทางการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบ

               ไปด้วย ผู้สมัครรับเลือกตั้งนายก อบจ. ผู้สมัคร ส.อบจ. ทั้งในเขตพื้นที่เขตอ าเภอเมืองและพื้นที่อ าเภอรอบนอก


                                                                                                                  ก
                 โครงการศึกษาการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ปี 2563: การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่
   1   2   3   4   5   6   7   8