Page 5 - kpiebook64008
P. 5

นอกจากนี้ ในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งเน้นการปราศรัยหาเสียงและการเดินสายเข้าชุมชนผ่านการเข้าร่วมงาน
               ส าคัญทางศาสนาหรือวัฒนธรรมชุมชน การใช้รถแห่ การติดป้ายหาเสียง การแจกโบรชัวร์แนะน าตัวในพื้นที่ตลาด

               ยังคงเป็นวิธีรณรงค์หาเสียงที่ยึดโยงกับความเป็นท้องถิ่นของพื้นที่ของจังหวัดเชียงใหม่ มากกว่าการใช้สื่อออนไลน์
               หรือโซเชียลมีเดียมาเป็นเครื่องมือในการหาเสียงดังเช่นการเลือกตั้งทั่วไปใน ปี พ.ศ. 2562

                        บริบทของการแข่งขันในการเลือกตั้ง อบจ. เชียงใหม่ คือ การแข่งขันทางการเมืองของพรรคการเมืองกับ
               กลุ่มการเมืองในนามอิสระ คือ ระหว่างพรรคเพื่อไทยและกลุ่มเชียงใหม่คุณธรรม ซึ่งทั้งสองฝ่ายต่างเคยมีความใกล้ชิด
               เกี่ยวข้องกับพรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชน จนถึงพรรคเพื่อไทย ดังนั้น ในการเลือกตั้ง อบจ. จึงเห็น

               ปรากฎการณ์ทางการเมืองที่น่าสนใจที่เรียกกันว่า “แข่งกันแดง” การปรากฎตัวของแกนน าพรรคเพื่อไทยและแกนน า
               เสื้อแดงในการปราศรัยหาเสียงของทั้งพรรคเพื่อไทยและกลุ่มเชียงใหม่คุณธรรมส่งผลต่อความลังเลและสับสนของผู้มี
               สิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง และตอกย้ าความขัดแย้งของกลุ่มผู้สนับสนุนทางการเมือง เครือข่ายหัวคะแนน และ
               การแย่งชิงทรัพยากรทางการเมืองในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ในอีกด้านหนึ่งการต่อสู้แข่งขันในสนามเลือกตั้ง อบจ.

               เชียงใหม่ ตอกย้ าความส าคัญของตระกูลการเมืองกับการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น คือ ตระกูลชินวัตร (พรรคเพื่อไทย) กับ
               ตระกูลบูรณุปกรณ์ ซึ่งมีบทบาททางการเมืองและเศรษฐกิจในจังหวัดเชียงใหม่มายาวนาน ดังนั้น การเลือกตั้ง อบจ.
               เชียงใหม่ จึงมีความส าคัญต่อพรรคเพื่อไทยที่ไม่ใช่เพียงแค่การชนะเลือกตั้งแต่เป็นการพิสูจน์สถานะและพื้นที่จังหวัด

               เชียงใหม่ของตระกูลชินวัตร เห็นได้จากการที่อดีตนายกรัฐมนตรี ทั้ง ทักษิณ ชินวัตร และยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
               ส่งข้อความและคลิปสนับสนุนช่วยหาเสียงให้แก่ผู้สมัคร นายก อบจ. เชียงใหม่ของพรรคเพื่อไทย ท าให้บรรยากาศ
               การเมืองท้องถิ่นของจังหวัดเชียงใหม่เป็นการการชิงพื้นที่ที่ไม่ใช่แค่กลุ่มการเมืองในท้องถิ่นแต่เชื่อมโยงถึงการเมือง
               ระดับชาติ

                        ผลการศึกษาข้อมูลยังพบว่า เครือข่ายหัวคะแนนมีความส าคัญและยังจ าเป็นต่อการความได้เปรียบ

               เสียเปรียบในการชนะการเลือกตั้ง ซึ่งผู้สมัคร อบจ. จากพรรคเพื่อไทยสามารถอาศัยฐานคะแนนเสียงและเครือข่าย
               หัวคะแนนของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) จังหวัดเชียงใหม่ที่ชนะการเลือกตั้งทั้ง 9 เขตเลือกตั้ง แม้จะมีการ
               เลือกตั้งใหม่ของเขต 8 ในภายหลังการเลือกตั้ง อบจ. เชียงใหม่ถือเป็นความได้เปรียบของพรรคเพื่อไทยจากผลพวง
               การเลือกตั้งที่ผ่านมาเพียง 1 ปี แม้จะมีพื้นที่ที่สร้างความคลุมเครือต่อการสนับสนุนพรรคเพื่อไทย เช่น เขตพื้นที่
               อ าเภอเมืองที่ ส.ส.พรรคเพื่อไทย คือ หลานสาวบุญเลิศ บูรณุปกรณ์ จากกลุ่มเชียงใหม่คุณธรรม แม้ระบบ

               หัวคะแนนและการซื้อเสียงยังคงปรากฏให้เห็นในการเลือกตั้ง อบจ. เชียงใหม่ แต่ทิศทางแนวโน้มของปัจจัยเรื่อง
               เงินซื้อเสียงที่ส่งผลต่อการลงคะแนนเสียงนั้นเปลี่ยนไปจากอดีต ซึ่งเห็นได้จากการให้ความหมายของเงินซื้อเสียงที่
               เปลี่ยนไปเป็นความหมายของ “เงินค่าตอบแทน” ที่เริ่มปรากฏให้เห็นในการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2562 เช่นกัน

               ข้อมูลจากการสัมภาษณ์พบว่า ผู้ที่เคยรับเงินซื้อเสียงไม่ได้มองเชื่อมโยงกับความผิดทางกฎหมายจากการรับเงิน
               เพราะเชื่อว่าการรับแต่ไม่เลือกคือวิธีการหนึ่งของการแก้ปัญหาที่ท าให้ผู้ให้เงินจะได้รับบทเรียนของการใช้เงินใน
               การซื้อเสียงแต่อาจไม่ชนะเลือกตั้ง ซึ่งลักษณะของพฤติกรรมทางการเมืองที่เกิดขึ้นของผู้มีสิทธิเลือกตั้งเกี่ยวข้อง
               สัมพันธ์กับบริบทททางการเมืองที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ท าให้การศึกษาวิจัยเพื่อท า

               ความเข้าใจพฤติกรรมการเมืองการเลือกตั้งเป็นสิ่งจ าเป็นที่ต้องมีการศึกษาอย่างต่อเนื่อง








                                                                                                                  ค
                 โครงการศึกษาการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ปี 2563: การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10