Page 4 - kpiebook64008
P. 4

ผู้สนับสนุนพรรคการเมือง ผู้สนับสนุนกลุ่มการเมืองอิสระ หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เช่น คณะกรรมการการ
               เลือกตั้ง (กกต.) ข้าราชการท้องถิ่นที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการการเลือกตั้ง นักวิชาการทางรัฐศาสตร์

               ผู้น าท้องถิ่นที่เป็นเครือข่ายกลุ่มผู้น าการเมืองของพรรคการเมืองในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ประชาชนผู้มีสิทธิ
               ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ทั้งนี้ ในส่วนของการใช้แนวทางการวิจัยเชิงส ารวจมีการใช้เครื่องมือ
               แบบสอบถามจากประชาชนในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีกลุ่มผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 2 กลุ่มคือ กลุ่มนักศึกษา (คนรุ่น
               ใหม่) และกลุ่มประชาชนทั่วไปซึ่งอาศัยวิธีการเชิงปริมาณด้วยการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (Simple Random

               Sampling) ประกอบด้วย ประชาชนที่อาศัยอยู่ใน 15 อ าเภอ ของจังหวัดเชียงใหม่และมีสิทธิ์เลือกตั้ง จ านวน 236
               ตัวอย่าง และเยาวชนอายุ 18-24 ปี คือ นักศึกษาในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จ านวน 400 ตัวอย่าง ซึ่งในการศึกษาวิจัย
               นี้มีก าหนดระยะเวลาในการเก็บรวมรวมข้อมูลในช่วงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2563 – มกราคม พ.ศ. 2564

                        การเลือกตั้ง อบจ.เชียงใหม่ สะท้อนบทบาทของต าแหน่งนายก อบจ. ในฐานะผู้น าการแข่งขันในการ
               เลือกตั้งของทั้งจังหวัด ท าให้ผู้สมัคร ส.อบจ. เป็นผู้สนับสนุนส่งเสริมบทบาทผู้สมัคร นายก อบจ. และน าเสนอความ

               เป็นผู้น าของผู้สมัครนายก อบจ. ของกลุ่มตนเองในพื้นที่แม้จะเป็นบัตรเลือกตั้ง 2 ใบก็ตาม ซึ่งในการเลือกตั้งครั้งนี้
               ผู้สมัครนายก อบจ. มีทั้งสิ้น 6 คน ได้แก่ นายพิชัย เลิศพงศ์อดิศร (หมายเลข 1) จาก “พรรคเพื่อไทย” นายบุญเลิศ
               บูรณุปกรณ์ (หมายเลข 2) จาก “กลุ่มเชียงใหม่คุณธรรม” นายวินิจ จินใจ (หมายเลข 3) จาก “กลุ่มเชียงใหม่

               ก้าวใหม่” นายบดินทร์ กินาวงศ์ (หมายเลข 4) จาก “กลุ่มประชารัฐเชียงใหม่” และผู้สมัครอิสระอีก 2 คน คือ
               นายวสันต์ วัชวงษ์ (หมายเลข 5) และนายเฉลิมศักดิ์ สุรนันท์ (หมายเลข 6)

                        ผลจากการศึกษาวิจัยพบว่า วิวัฒนาการของการเลือกตั้งองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ชี้ให้เห็น
               การครองพื้นที่การเมืองของกลุ่มการเมืองที่เชื่อมโยงกับตระกูลการเมือง และบุคคลที่มีบทบาททางสังคมและ
               เศรษฐกิจในพื้นที่ จนกระทั่งภายหลังรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ได้ส่งเสริมการกระจายอ านาจ

               สู่ท้องถิ่นและมีการสร้างความเข้มแข็งของระบบการเลือกตั้งผ่านพรรคการเมืองที่ท าให้พรรคการเมืองเข้ามามี
               บทบาทต่อการสนับสนุน ส่งเสริมนักการเมืองท้องถิ่นและกลุ่มการเมืองท้องถิ่นเพื่อรักษาฐานคะแนนเสียงและถือ
               เป็นการเชื่อมโยงระหว่างการเมืองท้องถิ่นกับการเมืองระดับชาติมากยิ่งขึ้น และในการเลือกตั้ง อบจ. วันที่
               20 ธันวาคม พ.ศ. 2563 พรรคการเมืองมีบทบาทชัดเจนในการส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง อบจ. ในนามพรรคการเมือง
               ดังที่จังหวัดเชียงใหม่มีการส่งผู้สมัครในนามพรรคเพื่อไทย และมีผู้สมัครอิสระน าเสนอกลุ่มของตนเองเชื่อมโยงกับ

               พรรคการเมืองระดับชาติ นับเป็นผลสืบเนื่องมาจากการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2562 ดังปรากฎให้เห็นในการเลือกตั้ง
               อบจ.เชียงใหม่ครั้งนี้ คือ “กลุ่มเชียงใหม่คุณธรรม” “กลุ่มประชารัฐเชียงใหม่” และ “กลุ่มเชียงใหม่ก้าวใหม่” โดยมี
               การน าเสนอกลุ่มของตนเองเชื่อมโยงกับพรรคการเมืองทั้งในเชิงสัญลักษณ์และการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง

               แม้พรรคการเมืองจะไม่ได้ประกาศสนับสนุนหรือส่งผู้สมัครในนามพรรคก็ตาม ปรากฎการณ์นี้สะท้อนพฤติกรรม
               การลงคะแนนเสียงเลือกตั้งของประชาชนในจังหวัดเชียงใหม่ที่ให้ความส าคัญต่อปัจจัยด้านพรรคการเมืองและ
               นโยบายพรรคการเมืองในการตัดสินใจลงคะแนนเสียงเลือกตั้งมากยิ่งขึ้น

                        นอกจากนี้ ความแตกต่างที่ส าคัญของการเลือกตั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่นในครั้งนี้ คือ นโยบาย
               ของผู้สมัครในนามพรรคการเมืองและกลุ่มอิสระมีนโยบายที่เกี่ยวข้องกับปัญหาของพื้นที่ เช่น ปัญหา PM 2.5

               ปัญหาสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน และการเน้นการส่งเสริมเศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดเชียงใหม่ มีการ
               สร้างเครือข่ายการสนับสนุนทางการเมืองกับกลุ่มภาคธุรกิจเอกชนและภาคประชาสังคมในจังหวัดมากยิ่งขึ้น




                                                                                                                 ข
                 โครงการศึกษาการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ปี 2563: การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่
   1   2   3   4   5   6   7   8   9