Page 121 - kpiebook64008
P. 121
ปัญหาความไม่เข้าใจในกฎหมาย ประกาศและหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเลือกตั้ง รวมทั้งปัญหา
ในการจัดการการเลือกตั้ง
บทบาทของ กกต. และ ส านักงาน อบจ. นับว่ามีความส าคัญอย่างยิ่งในการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น
การประสานเชื่อมโยงของหน่วนงานระดับท้องถิ่นกับระดับส่วนกลาง ในช่วงการเลือกตั้งท้องถิ่นพบปัญหาเชิงโครงสร้าง
ในส่วนของการประสานงานและการสร้างความเข้าใจแก่เจ้าหน้าที่และอาสาสมัครในการสนับสนุนการเลือกตั้ง
เมื่อ อบจ. บริหารจัดการการเลือกตั้งที่ต้องเชื่อมกับฝ่ายปกครอง ภายใต้กระทรวงมหาดไทย และได้รับการดูแล
สนับสนุนจาก กกต. ที่เป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ การประสานบทบาท หน้าที่ และการจัดการหน่วยเลือกตั้ง
ในพื้นที่จึงจ าเป็นอย่างยิ่งที่ต้องอาศัยฐานความรู้และข้อมูลชุดเดียวกัน โดยเฉพาะความรู้ความเข้าใจในการจัดการ
การเลือกตั้งที่มีการรับสมัครตัวแทนของชุมชนมาร่วมจัดการด้วย จ าเป็นต้องสร้างความเข้าใจและเตรียมความพร้อม
- มาตรฐานการจัดหน่วยเลือกตั้ง จากการส ารวจปัญหาพบว่าหน่วยการลงคะแนนเลือกตั้งหลายหน่วย
ยังมีการบริหารจัดการหน่วยเลือกตั้งในมาตรฐานที่ไม่เหมือนกัน ทั้งเรื่องกฎการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
การติดป้าย ตลอดจนรูปแบบการนับคะแนน จากการสอบถามเจ้าหน้าที่ประจ าหน่วยเลือกตั้งในวันเลือกตั้งวันที่
20 ธันวาคม พ.ศ. 2563 พบว่ามีปัญหาเรื่องการขาดอุปกรณ์พื้นฐานในการจัดหน่วยเลือกตั้งและนับคะแนน เช่น
ปากกา กระดาษกาวเพื่อติดแผ่นนับคะนน นอกจากนี้ ตามประกาศ คือ การนับคะแนนของบัตรเลือกตั้งนายก อบจ.
และ บัตรเลือกตั้ง ส.อบจ. ต้องท าการนับพร้อมกัน ซึ่งเกิดปัญหาส าคัญที่พในหลายหน่วยเลือกตั้ง คือ เสียงการขาน
คะแนนที่ซ้อนทับกันท าให้เกิดความสับสน
- สถานที่ในการจัดการเลือกตั้ง ปัญหาในการประสานงานระหว่างส านักงานคณะกรรมการการ
เลือกตั้งกับองค์การบริหารส่วนจังหวัด และกระทรวงมหาดไทย พบปัญหาคือ ความไม่พร้อมของสถานที่จัด เช่น
หน่วยเลือกตั้งที่ได้ไปสังเกตการณ์ในเขตอ าเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ พบว่ามีการจัดสถานที่หน่วยเลือกตั้งใต้
ถุนอาคาร ซึ่งไม่มีไฟฟ้าติดตั้ง ด้วยระยะเวลาในการปิดหีบเลือกตั้ง คือเวลา 17.00 น. และเข้าฤดูหนาวที่ท าให้
โครงการศึกษาการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ปี 2563: การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ 100