Page 117 - kpiebook64008
P. 117
อบจ. และ ส.อบจ. น่าจะกาเบอร์เดียวกัน “...ผมมีความมั่นใจในผลงานและผลงานของ ส.อบจ.ของกลุ่มผมที่ท างาน
ในพื้นที่มาโดยตลอด โดยเฉพาะเครือข่ายผู้น าและหัวคะแนนในพื้นที่...” นอกจากนี้นายบุญเลิศจากกลุ่มเชียงใหม่
คุณธรรมมองว่าความมั่นใจในการท างานของตนเองและอดีต ส.อบจ.จากกลุ่มตนน่าจะมีส่วนส าคัญในการสนับสนุน
การชนะการเลือกตั้งไม่ใช่ประเด็นเสื้อแดงที่ตอนนี้พรรคพยายามน าเสนอกัน มองอีกมุมหนึ่งการเลือกตั้งครั้งนี้
เหมือนเป็นศึกระหว่างตระกูลการเมืองซึ่งนายบุญเลิศมีความเห็นแย้งว่า ปมของการต่อสู้ในการเลือกตั้งที่ 2 ตระกูล
มาปะทะกันมันเกิดจาก พรรคเพื่อไทยที่ไม่ยอมรับตนเองไม่ใช่ตนเองไม่เอาพรรคเพื่อไทย ไม่เอาตระกูลชินวัตร
“...แต่เพราะเค้าไม่เอาผม…” ข้อมูลเพิ่มเติมจากหัวคะแนนในพื้นที่อ าเภอหนึ่ง ผู้ไม่ขอเปิดเผยชื่อ มองว่าพรรคเพื่อ
ไทยเล่นการเมือง 2 หน้า ในระดับท้องถิ่นมาโดยตลอด หาย้อนไปดูตั้งแต่การเลือกตั้ง อบจ. ในอดีตที่คู่แข่งขันก็มา
จากการสนับสนุนของพรรคการเมืองและ ส.ส.ในเชียงใหม่ ดังนั้น เพื่อไทยเล่นการเมืองเชิงยุทธศาสตร์ในพื้นที่
ท้องถิ่น ที่ประชาชนไม่ได้เข้าใจและท าให้ไม่เห็นประเด็นของการพยายามสร้างกลุ่มอิสระเพื่อคนเชียงใหม่อย่าง
แท้จริง ทั้งนี้ จากข้อมูลการสัมภาษณ์ นายบุญเลิศเชื่อว่าจดหมายของอดีตนายกทักษิณไม่ได้มีผลมากนักและเชื่อว่า
จะส่งผลทางลบด้วย คลิปมีผลแค่ความรู้สึกแต่ไม่ได้มีผลต่อการตัดสินใจ แต่หากถามว่าประเด็นที่ท าให้กลุ่มเชียงใหม่
คุณธรรมมีความกังวลคือ เรื่องของพื้นที่ที่มีความหลากหลาย ท าให้มีผลต่อการเลือกผู้สมัคร ส.อบจ. ที่ตนเองเป็นคน
เลือกเอง โดยดูจากการท างานในพื้นที่มีต้นทุนที่เชื่อมโยงกับพื้นที่มาก่อนแล้ว (สัมภาษณ์บุญเลิศ บูรณุปกรณ์
ผู้สมัคร นายก อบจ.เชียงใหม่ วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2563)
4.3 ระบบหัวคะแนนและการซื้อเสียง
ความสัมพันธ์แบบอุปถัมภ์กับระบอบการเมืองไทยเป็นสิ่งที่แยกกันไม่ขาด กลไกของการเลือกตั้งมี
เครือข่ายผู้น าการเมืองในระดับชุมชนท้องถิ่นเป็นฐานคะแนนที่ส าคัญ แม้วิวัฒนาการของการเลือกตั้งของไทยจะท า
ให้สังคมเรียนรู้ว่าการเลือกตั้งเพียงอย่างเดียวไม่อาจสร้างประชาธิปไตยได้ แต่ประชาชนส่วนใหญ่ยังคงโหยหา
การเลือกตั้ง บรรยากาศของการออกไปใช้สิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง การนั่งฟังปราศรัยหาเสียง และการได้มี
โอกาสปฏิสัมพันธ์กับพรรคการเมือง กลุ่มการเมือง และนักการเมืองที่ตนเองสนับสนุน
การซื้อเสียงในการเลือกตั้ง อบจ. ในจังหวัดเชียงใหม่ต้องกล่าวว่าเป็นประเด็นที่มีการพูดถึงอย่างกว้างขวาง
ทั้งในสื่อออนไลน์ จากกลุ่มผู้น าชุมชนและการลงพื้นที่เก็บข้อมูลที่มีการระบุตัวเลขของการซื้อเสียงว่ามีตั้งแต่ 200
บาท จนถึง 2,000 บาทต่อหัว จากการเก็บข้อมูลสัมภาษณ์ว่าที่ทีมผู้บริหาร อบจ. ของพรรคเพื่อไทยคนหนึ่ง
บอกว่าพรรคเองก็คงต้องมีเงินค่าตอบแทนบางส่วนให้แก่คนที่บริหารจัดการคนในพื้นที่ โดยเฉพาะในการพาคนมา
ปราศรัย แต่อ านาจเงินของฝ่ายอื่นมีเยอะมาก ทุ่มเท่าไหร่ก็เกทับ คนได้ประโยชน์คงจะเป็นชาวบ้านและหวังว่าเค้าจะรู้
ว่าจะเลือกใครที่ไม่ใช่ที่จ านวนเงิน โดยมีค าพูดเปรียบเปรยปิดท้ายว่า “ฝนตกทั่วฟ้าเชียงใหม่” ช่วงเลือกตั้ง
ข้อมูลจากผู้สมัคร นายก อบจ. ท่านหนึ่ง ระบุชัดเจนว่าเมื่อการแข่งขันของกลุ่มเชียงใหม่คุณธรรมและพรรค
เพื่อไทยเกิดขึ้นในการเลือกตั้ง อบจ. ปัญหาหนึ่งคือ ฐานเสียงที่เคยสนับสนุนเชื่อมโยงกัน ดังนั้น วิธีการรักษา
หัวคะแนนให้อยู่กับตนเองไม่ให้ไปช่วยฝ่ายตรงข้ามคือ “เงิน” และข้อมูลจากประชาชนที่มาร่วมฟัง 2 ชั่วโมงจะได้
ค่าตอบแทนชั่วโมงละ 100 บาท ดังนั้น เฉลี่ยจะได้คนละ 200 – 3,000 บาท “… เขาว่าหัวหมู่หักไปคนละร้อย เลยได้
แค่ 200 แต่เค้าเตรียมรถให้มาฟัง ก็ดีกว่าอยู่บ้านเฉยๆ...” (สัมภาษณ์ประชาชนผู้มาเข้าร่วมฟังปราศรัย)
โครงการศึกษาการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ปี 2563: การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ 96