Page 118 - kpiebook64008
P. 118

ข้อมูลจากผู้ให้สัมภาษณ์ (หัวคะแนน) คือ การมานั่งฟัง 2 ชั่วโมงจะได้ค่าตอบแทนชั่วโมงละ 100 บาท
               ดังนั้นเฉลี่ยจะได้คนละ 200 บาท โดยผู้น าชุมชนและแกนน าเครือข่ายจะเป็นคนที่จัดหารถไปรับ ในขณะที่พื้นที่

               ยุทธศาสตร์ คือ พื้นที่ที่มีการแข่งขันสูง เช่น อ าเภอสันก าแพง จะได้ค่าตอบแทนสูงถึงคนละ 500 บาท ในบางพื้นที่
               มีการลงปราศรัย 2 – 3 ครั้งก็จะมีการจ่ายหลายครั้ง แต่หลายคนไปฟังการปราศรัยของทั้ง 2 กลุ่มก็จะเป็น
               การเวียนรับเงิน ข้อมูลส าคัญคือ ประชาชนส่วนใหญ่ที่มาร่วมฟังปราศรัยต่างบอกว่าเงินที่ได้ถือเป็นการค่าตอบแทน
               ค่าเสียเวลา เหมือนกับเงินจ้างงานเพราะต้องหยุดงานและไม่ได้ออกไปสวนไปไร่ การอธิบายเรื่องเงินซื้อเสียงที่

               เปลี่ยนไปเพราะเกี่ยวข้องกับวิธีการให้ เนื่องจากมองว่าถ้าเป็นเงินซื้อเสียงต้องเอาไปให้ที่บ้านหรือเอาไปให้ในวัน
               เลือกตั้ง ดังนั้น การให้นิยามการซื้อเสียงก็เปลี่ยนไปจากในอดีต

                        ข้อมูลจากผู้สมัครอิสระคนหนึ่งมองว่าคะแนนจากการเลือกตั้ง ส.ส. เป็นคะแนนจัดตั้ง คือ คะแนนซื้อทั้ง
               พรรคเพื่อไทยและพรรคพลังประชารัฐ สิ่งที่น่าสนใจ คือ คะแนนของพรรคเล็กๆ พอรวมกันก็มีคะแนนเยอะ
               ถ้าเอามาวัดการเลือกตั้ง อบจ. ประเด็นนี้อาจเป็นเหตุผลของการตัดสินใจลงสมัครของกลุ่มผู้สมัครอิสระอื่นๆ ประเด็น

               เรื่องเงินซื้อเสียงต้องแยกส่วนในการอธิบายว่า การรับเงิน กับการเลือกเพราะเงิน คือ คนละประเด็นกัน หัวคะแนนใน
               การเลือกตั้ง อบจ. มีการเชื่อมโยงและระดมหัวคะแนนที่เป็นฐานการเมืองจากการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
               จังหวัดเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2562 กระบวนการการสร้างเครือข่ายการเมืองที่เน้นการใช้ผู้น าท้องถิ่นได้แก่ ก านัน

               ผู้ใหญ่บ้าน ประธานผู้สูงอายุ ประธานแม่บ้าน และกลุ่มที่มีอิทธิพลอย่างมากในการช่วยส่งเสริมสนับสนุนผู้สมัครรับ
               เลือกตั้ง โดยเฉพาะในช่วงของสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 คือ กลุ่มอาสาสมัคร
               สาธารณสุขประจ าหมู่บ้าน (อสม.) บทบาทของหัวคะแนนในการเลือกตั้ง อบจ.มีความแตกต่างออกไปจากการเลือกตั้ง
               ทั่วไป พ.ศ. 2562 เนื่องจากการเลือกตั้งท้องถิ่นสะท้อนความเป็นอิสระของการลงคะแนนเสียงของประชาชนได้มากกว่า
               การเลือกตั้งทั่วไป ด้วยการมีพื้นที่ขนาดเล็กลงคือ ใช้อ าเภอเป็นพื้นที่และมีการแบ่งเขตออกไปถึง 42 เขต

               ตัวแปรของปัญหาและความต้องการที่เชื่อมโยงลักษณะแต่ละพื้นที่จึงเป็นสิ่งที่ท าให้การจูงใจโน้มน้าวแสดงบทบาทของ
               หัวคะแนนเป็นไปยากขึ้น แน่นอนว่าบทบาทหลัก เช่น การน าเสนอผู้สมัครที่ตนสนับสนุน การรวมกลุ่มคนในชุมชนเพื่อ
               ไปรับฟังปราศรัย การเปิดโอกาสให้นักการเมืองหรือหัวคะแนนรายใหญ่เข้ามาในพื้นที่ แต่ปมส าคัญของการเลือกตั้งที่

               เริ่มมีการเปลี่ยนแปลง คือ ใช้เงินซื้อเสียง ลงทุนการเลือกตั้งมากแต่เงินไม่ใช่ปัจจัยเดียวอีกต่อไปในการชนะการเลือกตั้ง
                        บทบาทหัวคะแนนในการเลือกตั้งก็เปลี่ยนไปในการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น มีการแยกกลุ่มหัวคะแนนของ

               กลุ่มการเมืองค่อนข้างชัดเจน คือ กลุ่มผู้น าท้องถิ่นและผู้น าชุมชนส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มหัวคะแนนที่สนับสนุนพรรค
               เพื่อไทย แต่กลุ่มผู้น าชุมชนหรือหัวคะแนนกลุ่มใหม่ที่เข้าถึงชุมชนและมีบทบาทในการเลือกตั้งทั่วไปตั้งแต่
               พ.ศ. 2562 คือ กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจ าหมู่บ้าน (อสม.) ตั้งแต่การแพร่ระบาดยุคโควิดมานับปีจนถึง

               การเลือกตั้ง บทบาท อสม. ถือเป็นบทบาทที่มีผลทางการเมืองมาก การเข้าถึงชุมชน เข้าถึงครอบครัวและมีทักษะ
               ความรู้เรื่องสาธารณสุข ท าให้เกิดความน่าเชื่อถือมาก โดยเฉพาะข้อมูลจากกลุ่มเชียงใหม่คุณธรรมที่มองว่า
               ในช่วงเวลาที่ผ่านมาทางกลุ่มคือ ผู้ก าหนดทิศทางเชิงนโยบายและงบประมาณของจังหวัดที่ยึดโยงกับการพัฒนา
               สาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานมากที่สุด













                 โครงการศึกษาการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ปี 2563: การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่   97
   113   114   115   116   117   118   119   120   121   122   123