Page 112 - kpiebook64008
P. 112
แนวทางที่สอง แนวทางในหาเสียงเพื่อการต่อสู้ทางการเมือง
ปรากฎการณ์ “แข่งกันแดง”
หลังจากการสมัครและเปิดตัวผู้สมัครในวันเดียวกัน ณ สนามกีฬาเชียงใหม่ 700 ปี มีการจัดงานเปิดตัว
ผู้สมัครโดยมีแกนน าและอดีตพรรคเพื่อไทยไปร่วมงานคับคั่ง อาทิ พล.ต.ท.วิโรจน์ เปาอินทร์ อดีตหัวหน้าพรรค
เพื่อ ไทย นายพิชัย นริพทะพันธุ์ ทีมเศรษฐกิจ พรรคเพื่อ ไทย นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ อดีตโฆษก พรรคเพื่อไทย,
นายสุรพล เกียรติไชยากร อดีต ส.ส.เชียงใหม่ นายวรชัย เหมะ อดีต ส.ส.สมุทรปราการ นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด
อดีตรองโฆษก พรรคเพื่อไทย น.ส.อรุณี กาสยานนท์ โฆษกพรรคเพื่อไทย และนายอดิศร เพียงเกษ อดีต ส.ส.
เพื่อไทย เป็นต้น มีการขึ้นเวทีสับเปลี่ยนกันปราศรัย ตลอดการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่
ทีมอดีต นักการเมือง และผู้บริหารพรรคเพื่อไทย ตระเวนไปร่วมเวทีปราศรัยกับทีมผู้สมัคร อบจ.เชียงใหม่ ภาพของ
แรงสนับสนุนของพรรคเพื่อไทยที่มุ่งมาสนามการเลือกตั้งท้องถิ่นของจังหวัดเชียงใหม่เห็นได้ชัดเจน แต่เมื่อกลุ่ม
เชียงใหม่คุณธรรมที่มีความเข้มแข็งทั้งในเรื่องเงิน อ านาจ และเครือข่ายการเมืองระดับพื้นที่ ซึ่งเสียงของนายบุญเลิศ
บูรณุปกรณ์ที่เป็นที่รู้จักมาอย่างยาวนานจากตระกูลการเมือง ท าให้ในตอนต้นการต่อสู้ของคู่แข่งขันการเลือกตั้ง
อบจ. ดูจะไม่ซับซ้อนนัก ขึ้นอยู่กับการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งและระบบหัวคะแนนที่จะช่วยเก็บเกี่ยวและเพิ่ม
คะแนนเหมือนการเลือกตั้งทั่วไป แต่เมื่อเริ่มมีคนของตระกูลชินวัตรมาลงพื้นที่หาเสียง สัญญาณของการต่อสู้ระหว่าง
พรรคเพื่อไทยกับกลุ่มเชียงใหม่คุณธรรมก็เริ่มเปลี่ยน การต่อสู้ในการเลือกตั้งจึงกลายเป็นคู่ต่อสู้ของตระกูลการเมือง
และมาสู่ตอนปลายที่การต่อสู้ของความเป็นคนเสื้อแดง
ในการเลือกตั้ง อบจ. ครั้งนี้ สิ่งที่เกิดขึ้นในการเลือกตั้งท้องถิ่นจังหวัดเชียงใหม่ คือ การเอาชนะกันด้วย
การเชื่อมโยงความเป็นเสื้อแดง ที่คู่แข่งขัน 2 ฝ่ายคือ พรรคเพื่อไทยและกลุ่มเชียงใหม่คุณธรรมต่างปราศรัย
การันตีความเป็นเสื้อแดงของตนเอง หากมองจากมุมการวิเคราะห์สะท้อนว่า พื้นที่เชียงใหม่แม้จะถูกเฝ้าจับตามองมา
ตั้งแต่เหตุการณ์รัฐประหาร แต่ผู้แข่งขันทั้งคู่ยังประเมินชัยชนะตนเองจากการอิงฐานคนเสื้อแดงที่เติบโตมาตั้งแต่
ยุคพรรคไทยรักไทยเฟื่องฟู ความพยายามในการรื้อฐานอ านาจของพรรคไทยรักไทย พลังประชาชน จนถึงพรรค
เพื่อไทยในจังหวัดเชียงใหม่ไม่ใช่เรื่องง่ายส าหรับรัฐบาลทหาร ผลจากการเลือกตั้ง ส.ส. วันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2562
จนถึง การเลือกตั้ง อบจ. 20 ธันวาคม พ.ศ. 2563 สะท้อนให้เห็นว่าการเมืองในเชียงใหม่ยังคงเป็นพื้นที่ของตระกูลชิน
วัตร ดังนั้น ในช่วงเวลาของการหาเสียง ทั้ง ส.ส. และ อบจ. พรรคเพื่อไทยมาแนวทางเดียวกัน คือ การเอาอดีตนายก
ทักษิณ ชินวัตร มาเป็นพระเอกของการหาเสียง สิ่งที่พบคือ “การปลุกผีไทยรักไทย” การน าภาพในอดีตยุคเศรษฐกิจ
ประชาชนรุ่งเรืองจากนโยบายของพรรคไทยรักไทย การน าเสนอภาพผู้น าของทักษิณ ชินวัตร การเรียกคะแนนความ
ไม่เป็นธรรมให้แก่นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เรียกได้ว่าตระกูลชินวัตรเทหมดหน้าตักเพื่อรักษาพื้นที่เชียงใหม่ไว้
จากการระดมคนในตระกูลมาช่วยหาเสียง และตระกูลชินวัตรที่มาช่วยหาเสียง อบจ. คือ การตอกย้ าสัญญานส าคัญว่า
ใครคือคนก่อร่างสร้างตัวที่แท้จริงของคนเสื้อแดง ข้อสังเกตที่น่าสนใจคือ ไม่ได้มีการกล่าวถึงนางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์
ในการหาเสียงเลือกตั้ง แม้จะเป็นอีกบุคคลที่มีบทบาททางการเมืองในจังหวัดเชียงใหม่สูงในฐานะคนก าหนด
ยุทธศาสตร์การเลือกตั้งในอดีตที่ผ่านมา และมีอดีตนายกสมชาย วงศ์สวัสดิ์ มาช่วยตลอดการหาเสียงของ อบจ.
เชียงใหม่ ทั้งที่ในการปราศรัยของกลุ่มเชียงใหม่คุณธรรมหลายครั้งที่ระบุ “ระบอบเจ๊” ซึ่งมีการตีความหมายจากมิตร
มาเป็นคู่ขัดแย้งระหว่างนางเยาวภากับนายบุญเลิศ
โครงการศึกษาการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ปี 2563: การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ 91